วิเคราะห์และทดสอบในห้องปฏิบัติการ
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการทุนสำหรับถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี และทุนวิจัยร่วมกับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยผลิตงานวิจัยจากโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของภาคเอกชน และสนับสนุนให้ภาคเอกชนนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยมีทุนสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้
เลือกเมนู

วิเคราะห์ข้อมูลโภชนาการ

การทดสอบอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร

พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

การบริการให้คำปรึกษา
วิเคราะห์ข้อมูลโภชนาการ
ฉลากโภชนาการแบบย่อ
อัตราค่าบริการ 5,000 บาท
ฉลากโภชนาการแบบเต็ม
อัตราค่าบริการ 10,000 บาท
อาหารประเภทใดบ้างที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ
อาหารที่มีการกล่าวอ้างหรือใช้คุณค่าทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมการขายต้องแสดงฉลากโภชนาการ ดังต่อไปนี้
- อาหารที่มีการแสดงข้อมูลชนิดสารอาหาร ปริมาณสารอาหาร หน้าที่ของสารอาหาร เช่น มีไขมัน 0% มีแคลเซียมสูงเป็นต้น
- อาหารที่มีการใช้คุณค่าทางอาหารหรือทางโภชนาการในการส่งเสริมการขาย เช่น เป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อบำรุงสุขภาพ สดใส แข็งแรง แต่ห้ามแสดงสรรพคุณในลักษณะป้องกันหรือรักษาโรค เช่น ลดความอ้วน ป้องกันมะเร็ง เป็นต้น
- อาหารที่มุ่งจะใช้ในกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มเพื่อการส่งเสริมการขาย เช่น กลุ่มวัยเรียน กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้สูงอายุ เป็นต้น
- อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้ต้องแสดงฉลาก โภชนาการ เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในด้านคุณค่า คุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างแพร่หลาย
ดังนั้น อาหารในท้องตลาดที่ไม่มีการกล่าวอ้างหรือส่งเสริมการขายในลักษณะดังกล่าว ไม่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ
การทดสอบอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร
หมายถึง ช่วงระยะเวลาที่อาหารอยู่ในบรรจุภัณฑ์และการเก็บรักษาในสภาวะที่กำหนด ซึ่งสามารถรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารให้อยู่ในระดับที่กำหนดได้ เกณฑ์ที่ใช้กำหนดอายุการเก็บของอาหาร ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
เช่น การแยกชั้น
การเปลี่ยนแปลงทางเคมี
เช่น การเปลี่ยนสี, การหืน
การเปลี่ยนแปลงทางปราสาทสัมผัส
เช่น กลิ่น, รสชาติ, เนื้อสัมผัส
การเปลี่ยนแปลงทางจุลินทรีย์
เช่น ปริมาณจุลินทรีย์ที่ใช้เป็นเกณฑ์ด้านความปลอดภัย
**พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
อัตราค่าบริการ ขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
คุณฝนทิพย์ หนูอุดม (แข)
0-7567-3580
fontip.nu@wu.ac.th