ผลการดำเนินงาน

ปีงบประมาณ 2567
ณ ปัจจุบัน

สรุปผลตามตัวชี้วัด (รายไตรมาส)

สรุปผลตามตัวชี้วัด (5 เดือน และ 11 เดือน)

  • รอบ 5 เดือน : คลิกรายละเอียด
  • รอบ 11 เดือน : คลิกรายละเอียด

ยุทธศาสตร์และแผนดําเนินงาน อื่นๆ

ปีงบประมาณ 2566

สรุปผลตามตัวชี้วัด (รายไตรมาส)

สรุปผลตามตัวชี้วัด (6 เดือน และ 10 เดือน)

ปีงบประมาณ 2565

สรุปผลตามตัวชี้วัด (6 เดือน และ 10 เดือน)

สรุปผลการใช้งบประมาณ

ปีงบประมาณ 2564

สรุปผลภาพรวมปี 64 : คลิกรายละเอียด
สรุปผลตามตัวชี้วัด ปี 64 : คลิกรายละเอียด
สรุปผลการใช้งบประมาณ ปี 64 : คลิกรายละเอียด

ปีงบประมาณ 2563

สรุปผลภาพรวมปี 63 : คลิกรายละเอียด

Walailak Investor Day 2024
วันที่ 28 มีนาคม 2567

ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดงาน Walailak Investor Day 2024 มหกรรมแสดงงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ ที่จะรวบรวม

  • 10 สุดยอดงานวิจัยพร้อมใช้ ++พร้อมโปรแกรมอนุญาตใช้สิทธิแบบพิเศษ
  • สุดยอดศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยที่พร้อมช่วยแก้ปัญหาภาคเอกชน
    พิเศษสุด ๆ
  • ได้รับสิทธิการเข้าถึงแหล่งทุนสนับสนุนจากภาครัฐ
  • สร้างเครือข่ายและพูดคุยกับผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม
  • พบกับสุดยอดผู้ประกอบฐานนวัตกรรมดีเด่นแห่งปี อาทิ เจ๊เล็กน้ำพริกปูม้า,โกเล เป็นต้น
    วันที่ 28 มีนาคม 2567 เวลา 13.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมหัวตะพาน ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
ภายในงานมีการนำเสนอบทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริม
ภาคเอกชนในพื้นที่ โดย ผศ.ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และบทบาทของภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ : SEC โดย โดย คุณสุทิน พรชัยสุรีย์ ประธานอาวุโส สภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทั้งนี้มีแหล่งทุนสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนด้านวิจัยพัฒนาจากภาครัฐจากหลายหน่วยงาน อาทิ

  • สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย(Thaibispa)
  • สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) NIA
  • ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 6 (BOI)
  • ศูนย์กลุ่มจังหวัดให้บริการ SME ครบวงจร ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จ.สุราษฎร์ธานี (สสว.)
    นอกเหนือจากนี้ภายในงานยังมี
  • พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสถาบันการศึกษาเครือข่ายภูมิภาค ภาคใต้ตอนบน เพื่อสร้างความร่วมมือเป็นเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาที่ตรงตามความต้องการของภาคเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
  • การแลกสัญญาวิจัยจากภาคเอกชนและถ่ายทอดเทคโนโลยี
  • การมอบโล่รางวัลแก่ผู้ประกอบการ สำนักวิชา นักวิจัย และนักศึกษาที่มีความโด่ดเด่นในด้านการทำธุรกิจนวัตกรรมทั้งสิ้น 9 รางวัล

ผลจากการมีส่วนร่วม
เกิดการ Matching ระหว่างผู้ประกอบการและแหล่งทุนสนับสนุนภาคเอกชนในการลงทุนด้านวิจัยพัฒนาจากภาครัฐ และเกิดความเข้าใจในบทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมภาคเอกชนในพื้นที่ และบทบาทของภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ : SEC ตลอดจนการสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ ในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาที่ตรงตามความต้องการของภาคเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
ซึ่งจะเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างเครือข่ายพันธมิตรของสถาบันการศึกษาเครือข่ายภูมิภาค ภาคใต้ตอนบน โดยงานวิจัยนั้นนอกจากจะสร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจแล้ว ยังต้องสามารถส่งเสริมศักยภาพในการทำงานวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนด้วย ทั้งการตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยและพัฒนาต่อธุรกิจ การพัฒนาหน่วยงานวิจัยและบุคลากรทางด้านวิจัยของภาคเอกชน รวมถึงเป็นการสร้างฐานลูกค้าของอุทยานวิทยาศาสตร์ในอนาคต

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://sciencepark.wu.ac.th/archives/85406

——————————

“งานวิจัย” ขยายพันธุ์ “ปลิงทะเล” สัตว์น้ำเศรษฐกิจไทย ราคาสูงถึง กก.ละ 7,000 บาท
วันที่  8 มีนาคม 2567
อวท. ม.วลัยลักษณ์ ร่วมมือ คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ ใช้ “งานวิจัย” ขยายพันธุ์ “ปลิงทะเล” สัตว์น้ำเศรษฐกิจไทย ราคาสูงถึง กก.ละ 7,000 บาท

ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม
โดยปัจจุบันมีความต้องการบริโภคปลิงขาวมากขึ้นอีกทั้งมีมูลค่าสูงขึ้น ทําให้ประชากรปลิงขาวทั่วโลกถูกทําประมงจนเกินกําลังการทดแทนตามธรรมชาติและอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างยิ่งและในปัจจุบันมีราคาสูงถึง กก.ละ 7,000 บาท

สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม
ผศ.ดร.สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ร่วมกับ คุณปิยะวัฒน์ พรหมรักษา ผู้เชี่ยวชาญด้านปลิงทะเลขาว พร้อมทีม เป็นตัวแทน รศ.ดร. สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงพื้นที่เกาะจัมและเกาะปู อ.เหนือคลอง จ.กระบี่ เพื่อร่วมทำโครงการการเพาะเลี้ยงปลิงทะเล ร่วมกับ ชุมชนชาวประมงในพื้นที่

ผลจากการมีส่วนร่วม
ทางนักวิจัยจึงได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ปลิงทะเลและส่งเสริมการเลี้ยงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรผู้สนใจและนําไปสู่การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อนําไปใช้ในการเพาะขยายพันธุ์ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์และเพื่อการเพาะเลี้ยงปลิงทะเลขาวเชิงพาณิชย์ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งต่อยอดเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน

การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ปลิงทะเลและเลี้ยงปลิงทะเลเพื่อเพิ่มรายได้และยังฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพื่อการเพาะเลี้ยงปลิงทะเลขาวเชิงพาณิชย์ให้ชุมชนมีความเข้มแข็งต่อยอดเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืนได้ และยังเชื่อมั่นว่าในอนาคตปลิงทะเลจะกลายเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ที่เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างกว้างขวางแน่นอน ด้วยสรรพคุณทางโภชนาการ ซึ่งตอบโจทย์คนรักสุขภาพในยุคปัจจุบัน

ข้อมูลเพิ่มเติม : https://sciencepark.wu.ac.th/archives/85561

7. จำนวนการให้บริการ

ปีงบ 64
0 คน
ปีงบ 65
0 คน
ปีงบ 66
0 คน

8. แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการ

ปีงบ 64
0 %
ปีงบ 65
0 %
ปีงบ 66
0 %
Contact

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คุณณัฐณิชาช์ ลิ่มปรัชญา (พลอย)
0 7567 3576 , 3574
natnicha.ua@wu.ac.th

Scroll to Top