สร้างสรรค์และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการนักวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งแต่การขอรับความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญา การวางกลยุทธ์ในการนำทรัพย์สินทางปัญญาออกสู่ตลาด และการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยนักจัดการทรัพย์สินทางปัญญามืออาชีพ นักวิจัยสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการด้านต่างๆ ได้ดังนี้
เลือกเมนู
กระบวนการการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย สำหรับบุคลากร
- ติดต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) เพื่อให้ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์เบื้องต้น ประเมินและเลือกประเภทความคุ้มครองให้เหมาะสม รวมถึงรับทราบกระบวนการโดยสังเขป
- เมื่อเลือกประเภทความคุ้มครองที่เหมาะสมได้แล้ว TLO แนะนำการกรอกแบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์ แบบฟอร์ม TLO-00 : Click พร้อมแนะนำวิธีการเตรียมเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- กรณีเป็นการยื่นคำขอจดทะเบียน “สิทธิบัตร” “อนุสิทธิบัตร” และ “สิทธิบัตรการออกแบบ”
- ให้ผู้ประดิษฐ์ยื่นแบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์ แบบฟอร์ม TLO-00 : Click และ แนบ
a. แบบฟอร์มรายละเอียดการประดิษฐ์ (แบบฟอร์ม TLO-01 : Click ) สำหรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร หรือ
b. แบบฟอร์มคำพรรณาแบบผลิตภัณฑ์ (แบบฟอร์ม TLO-02 : Click) สำหรับสิทธิบัตรการออกแบบ
พร้อมด้วยหลักฐานประกอบอื่นๆ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ประดิษฐ์ทุกท่าน สำเนาสัญญารับทุน (ถ้ามี) ส่งผ่านทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย - หลังจากที่ผู้ประดิษฐ์แจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาแล้วเจ้าหน้าที่ TLO จะตรวจสอบเนื้อหาและองค์ประกอบของรายละเอียดการประดิษฐ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจะส่งกลับไปผู้ประดิษฐ์แก้ไข และส่งกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง จนกว่าเอกสารจะมีองค์ประกอบเรียบร้อยถูกต้องตามข้อกำหนด
- เมื่อเอกสารมีองค์ประกอบเรียบร้อยถูกต้องตามข้อกำหนดข้อมูลแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะจัดทำเอกสารคำขอและเอกสารประกอบอื่นๆ ส่งให้ผู้ประดิษฐ์ลงนามและรวมถึงเสนอไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องลงนามตามลำดับ
- หลังจากที่เอกสารครบถ้วนแล้วจะนำไปยื่นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด เมื่อได้ข้อมูลเลขที่คำขอแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะแจ้งให้ผู้ประดิษฐ์ทราบ และหลังได้รับเลขคำขอแล้ว ผู้ประดิษฐ์สามารถนำผลงานไปตีพิมพ์เผยแพร่ได้
- เมื่อคำขอเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วจะมีหนังสือแจ้งมายัง TLO ให้ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ เช่นการแก้ไขเอกสาร ซึ่ง TLO จะประสานกลับไปยังผู้ประดิษฐ์ให้ปรับแก้ เมื่อคำขอฯได้รับจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะแจ้งให้ผู้ประดิษฐ์ทราบ โดยการชำระค่าธรรมเนียมรายปีและการต่ออายุทาง TLO จะดำเนินการให้โดยอัตโนมัติ
- กรณีเป็นการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
- ให้ผู้ประดิษฐ์ยื่นแบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์ แบบฟอร์ม TLO-00 : Click และ แนบผลงาน พร้อมด้วยหลักฐานประกอบอื่นๆ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ประดิษฐ์ทุกท่าน สำเนาสัญญารับทุน(ถ้ามี) ส่งผ่านทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย
- หลังจากที่ผู้ประดิษฐ์แจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาแล้วเจ้าหน้าที่ TLO จะตรวจสอบเนื้อหาและองค์ประกอบของผลงานหากถูกต้องและเป็นไปตามข้อกำหนด เจ้าหน้าที่ TLO จะจัดทำเอกสารคำขอและเอกสารประกอบอื่นๆ ส่งให้ผู้ประดิษฐ์ลงนามและรวมถึงเสนอไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องลงนามตามลำดับ
- หลังจากที่เอกสารครบถ้วนแล้วจะนำไปยื่นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือยื่นทางไปรษณีย์ เมื่อได้ข้อมูลเลขที่คำขอแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะแจ้งให้ผู้ประดิษฐ์ทราบ
ข้อควรทราบ
- สำหรับการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์เป็นเพียงการทำเอกสารหลักฐานไว้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาเท่านั้น เนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ระบุให้สิทธิในลิขสิทธิ์เริ่มต้นตั้งแต่วันที่สร้างสรรค์และได้แสดงผลงาน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ FAQ
- มหาวิทยาลัยไม่ได้กำหนดให้มีการคิดคะแนนภาระงานด้านลิขสิทธิ์ออกมาเป็นการเฉพาะ เนื่องจากลิขสิทธิ์ตามกฏหมายมีลักษณะงานได้หลายประเภท ดังนั้นจึงต้องไปดูลักษณะของงานตามประกาศฯ
แบบฟอร์มและเอกสารที่ต้องใช้
- แบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์ (แบบฟอร์ม TLO-00 : Click)
- แบบฟอร์มรายละเอียดการประดิษฐ์ (แบบฟอร์ม TLO-01 : Click)
คำแนะนำ ศึกษาตัวอย่างการเขียนรายละเอียการประดิษฐ์ จากตัวอย่างตามหมวดหมู่ได้ ดังนี้
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม การแปรรูปอาหาร สูตรและกรรมวิธี Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม อุปกรณ์ เครื่องมือวัด เครื่องมือ Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม วัสดุ พอลิเมอร์ Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม การเลี้ยงเชื้อ Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม เครื่องมือที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ Click
- แบบฟอร์มขอรับเงินสมนาคุณผลงานที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (แบบฟอร์ม TLO-03 : Click)
- แบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์ (แบบฟอร์ม TLO-00 : Click)
- แบบฟอร์มรายละเอียดการประดิษฐ์ (แบบฟอร์ม TLO-01 : Click)
คำแนะนำ ศึกษาตัวอย่างการเขียนรายละเอียการประดิษฐ์ จากตัวอย่างตามหมวดหมู่ได้ ดังนี้
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม การแปรรูปอาหาร สูตรและกรรมวิธี Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม อุปกรณ์ เครื่องมือวัด เครื่องมือ Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม วัสดุ พอลิเมอร์ Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม การเลี้ยงเชื้อ Click
- ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรกลุ่ม เครื่องมือที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ Click
- แบบฟอร์มขอรับเงินสมนาคุณผลงานที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร (แบบฟอร์ม TLO-03 : Click)
- รายละเอียดการประดิษฐ์สำหรับคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรนั้น จะต้องประกอบไปด้วยหัวข้ออะไรบ้าง ?
ตอบ : กรณี สิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร จะประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ (เป็นการแสดงให้ทราบว่าการประดิษฐ์นี้เป็นการประดิษฐ์เกี่ยวกับอะไร สามารถสื่อถึงการประดิษฐ์ได้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และไม่ใช้คำอวดอ้าง คำโฆษณา หรือชื่อทางการค้า)ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ (ระบุถึงลักษณะทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่ได้คิดขึ้นโดยย่อรวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์ดังกล่าว โดยอาจแบ่งออกเป็นสองย่อหน้า คือ ย่อหน้าแรกเกี่ยวกับลักษณะของการประดิษฐ์โดยย่อโดยเฉพาะในส่วนของเทคนิคที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา และย่อหน้าที่สองกล่าวถึงความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ในแง่การนำไปใช้ประโยชน์ การได้รับประโยชน์ในเชิงพาณิชย์) สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ (ระบุว่าอยู่ในเทคโนโลยีหรือสาขาวิทยาการใด เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาศาสตร์การอาหาร ฯลฯ หรือหากไม่ชัดเจนว่าจะอยู่ในสาขาใด ก็อาจระบุในลัฏษณะที่เป็นวิทยาการเฉพาะของการประดิษฐ์นั้นๆก็ได้ เช่น วิศวกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ(ระบุชื่อสิ่งประดิษฐ์) ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (จะต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนแล้วรวมถึง ข้อจำกัด ข้อบกพร่อง หรือปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้น อันทำให้ผู้ประดิษฐ์เกิดความคิดต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าวพร้อมทั้งข้อบกพร่องต่างๆนั้น โดยช่วงแรกอาจบรรยายถึงลักษณะของการประดิษฐ์นั้นๆ ที่มีอยู่เดิมรวมถึงอธิบายเรื่องทั่วไปและเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ควรอ้างถึงสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรใกล้เคียงกันที่มีอยู่ก่อนหน้าเพื่อเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยการประดิษฐ์ของเรา) การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ (เป็นการบรรยายถึงรายละเอียดของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรว่ามีลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบ ขั้นตอนต่างๆ ผลดีของการประดิษฐ์ ตลอดจนตัวอย่างที่จะแสดงถึงการประดิษฐ์นั้นๆ และผลการทดลอง ทดสอบเปรียบเทียบ (ถ้ามี) โดยสมบูรณ์ และชัดแจ้งพอที่จะทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญในศิลปวิทยาการนั้นๆ สามารถเข้าใจในการประดิษฐ์ และสามารถปฏิบัติตามได้ โดยใช้คำศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิทยาการ หรือถ้าใช้คำศัพท์ที่ไม่เป็นไปตามที่เข้าใจกันทั่วไปให้นิยามความหมายด้วย ควรเริ่มอธิบายจากภาพรวมไปยังภาพย่อย แล้วจึงกล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยของการประดิษฐ์ กรณีมีรูปเขียนให้อธิบายตามการเรียงลำดับของรูปเขียน ทั้งนี้ ต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์สามารถทำงานได้จริง ถ้อยคำที่ใช้ต้องเหมือนกันตลอดทุกส่วนของคำขอ) คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ(ถ้ามี) (เป็นการระบุถึงรูปเขียนที่ที่แนบมากับคำขอ โดยระบแต่เพียงว่าแต่ละรูปเขียนแสดงถึงส่วนใดหรือลักษณะของการประดิษฐ์นั้นๆเท่านั้น เช่น
รูปที่ 1 แสดงภาพสามมิติของการประดิษฐ์นี้ลักษณะที่ 1
รูปที่ 2 แสดงภาพตัดตามแนว 2-2 ของรูปที่ 1
วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด (กรณีที่กล่าวถึงรายละเอียดทั้งหมดไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ ให้ใช้ข้อความว่า “เหมือนกับได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์”) รูปเขียน(ถ้ามี) (กรณีที่รูปเขียนทำให้สามารถเข้าใจการประดิษฐ์ได้ดีขึ้น ต้องจัดทำรูปเขียนที่เขียนตามหลักวิชาการเขียนแบบ รูปเขียนหมายความรวมถึงแผนภูมิและแผนผังด้วย ลูกศรชี้และมีหมายเลขแสดงชิ้นส่วน โดยมักจะลำดับรูปเขียนโดยเริ่มจากรูปที่แสดงทั้งระบบ ก่อนตามด้วยรูปที่สำพันธ์ลำดับต่อมา) ข้อถือสิทธิ (ต้องระบุถึงลักษณะทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ ต้องชัดแจ้ง รัดกุม รวมทั้งต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์ โดยระบุเป็นข้อๆ ให้ชัดเจนว่าเป็นการประดิษฐ์อะไร มีสูตรและกรรมวิธีการประดิษฐ์ ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เทคนิคหรืออุปกรณ์ และการนำไปใช้อย่างสัมพันธ์กัน) บทสรุปการประดิษฐ์ (สรุปสาระสำคัญทางเทคนิคของการประดิษฐ์ เพื่อให้เข้าใจได้ โดยสรุปว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวคืออะไร ใช้ทำอะไร อธิบายส่วนประกอบสำคัญและการทำงาน แต่ต้องไม่อ้างถึงส่วนอื่นของคำขอ และมีถ้อยคำไม่เกิน 200 คำ) - รูปเขียน สำหรับใช้ประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ต้องมีลักษณะอย่างไร ? ใช้ภาพถ่ายได้หรือไม่ ?
ตอบ : ภาพถ่ายไม่สามารถใช้ประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้ ผู้ขอจะต้องใช้รูปเขียนซึ่งเขียนโดยใช้อุปกรณ์และเป็นไปตามหลักการเขียนแบบ และมีข้อกำหนดอื่นๆ คือ
คำบรรยายหรือข้อความใดใด เว้นแต่ลำดับรูปเขียน
ใช้หมึกที่สามารถทนอยู่ได้นาน มีสีดำเข้ม เป็นเส้นเรียบและหนาเท่ากันตลอด ห้ามระบายสีอื่น
เขียนหมายเลขและเส้นอ้างอิงให้ชัดเจนและเข้าใจได้โดยง่าย ไม่ใช้วงเล็บ วงกลม อัญประกาศ ประกอบหมายเลข
มีสัดส่วนที่ถูกต้อง แต่ไม่ต้องระบุสเกล เว้นแต่ในส่วนที่ต้องการแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนเป็นพิเศษจะใช้สัดส่วนที่แตกต่างไปก็ได้
ไม่ใช้เครื่องหมายอ้างอิงอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ - ข้อถือสิทธิ คืออะไร ?
ตอบ : ข้อถือสิทธิเป็นส่วนที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ระบุถึงขอบเขตของการประดิษฐ์ที่ต้องการได้รับความคุ้มครอง เป็นการระบุถึงส่วนของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอต้องการสงวนสิทธิมิให้คนอื่นแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หลักการทั่วไป คือ
ขอบเขตของการประดิษฐ์ที่ระบุในข้อถือสิทธิจะต้องไม่กว้างเกินไปกว่าที่ผู้ขอได้ทำการประดิษฐ์และที่ได้เปิดเผยในรายละเอียดการประดิษฐ์นั้น
ข้อถือสิทธิต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครองโดยชัดแจ้ง รัดกุม และสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์ ถ้าข้อถือสิทธิไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คำขอนั้นอาจถูกปฏิเสธได้
ลักษณะของถ้อยคำที่ใช้จะต้องชัดแจ้งและรัดกุม หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้จะต้องชัดเจน ห้ามใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือ เช่น ประมาณ ได้แก่ ขณะหนึ่ง ช่วง คล้าย เหล่านี้เป็นต้น - บทสรุปการประดิษฐ์ ต้องมีลักษณะอย่างไร ?
ตอบ : บทสรุปการประดิษฐ์ เป็นการสรุปสาระสำคัญของการประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผยไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิและรูปเขียน (เปรียบเทียบโดยถือว่ามีลักษณะเดียวกันกับการเขียน Abstract ของบทความ) โดยจะต้องชัดแจ้งและรัดกุมและมีถ้อยคำไม่เกิน 200 คำ
- แบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์ (แบบฟอร์ม TLO-00 : Click)
- แบบฟอร์มคำพรรณาแบบผลิตภัณฑ์ (แบบฟอร์ม TLO-02 : Click)
คำแนะนำ ศึกษาตัวอย่างการเขียนคำพรรณาแบบผลิตภัณฑ์ จากตัวอย่างตามหมวดหมู่ได้ ดังนี้
o ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรออกแบบที่ขอถือสิทธิ ลวดลาย Click
o ตัวอย่างคำขอสิทธิบัตรออกแบบขอถือสิทธิ รูปร่าง ลักษณะ ของอุปกรณ์ต่างๆ Click
- แบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลการประดิษฐ์ (แบบฟอร์ม TLO-00 : Click)
- แนบผลงานซึ่งมีได้หลายลักษณะ ดังนี้
- งานวรรณกรรม: สำเนาปกหนังสือ และเอกสาร 5 หน้าแรกและ 5 หน้าหลัง
- โปรแกรมคอมพิวเตอร์: source code 5 หน้าแรกและ 5 หน้าหลัง
- งานนาฏกรรม: แผ่นซีดี หรือภาพการแสดงพร้อมคำบรรยาย
- งานศิลปกรรม: ภาพถ่ายผลงาน หรือภาพร่างผลงาน หรือภาพพิมพ์เขียว
- งานดนตรีกรรม, งานโสตทัศนวัสดุ, งานภาพยนตร์, งานสิ่งบันทึกเสียง,
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ: แผ่นซีดี, แผ่นดีวีดี, แผ่นวีซีดี
- แบบฟอร์มขอรับเงินสมนาคุณผลงานที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร แบบฟอร์ม TLO-03 : Click พร้อมแนบหลักฐานได้แก่ สำเนาหนังสือสำคัญการได้รับจดทะเบียน (หรือ สามาถใช้หลักฐานการประกาศบนหน้าเว็บของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เลย) (กรณีมีผู้ประดิษฐ์ร่วมกันหลายท่านให้ตัวแทนเป็นคนยื่น)
- เสนอผู้บังคับบัญชา(หัวหน้าหน่วยงาน) ลงนาม ส่งผ่านทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย
- เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ส่วนการเงินและบัญชีจะโอนเงินเข้าบัญชีที่ได้แจ้งไว้
- การบันทึกภาระงาน จะเปิดให้นักวิจัยเข้าไปกรอกข้อมูลผลงานได้ในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี
โดย นักวิจัยจะต้องกรอกข้อมูลผลงานเข้าไปใน ระบบทะเบียนงานวิจัยและการพัฒนางานทางวิชาการของมหาวิทยาลัย (หัวข้อ สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตรการประดิษฐ์/นวัตกรรมที่ไม่ได้รับการจดทะเบียนฯ) หลังจากนั้น TLO จะตรวจสอบข้อมูลและบันทึกข้อมูลลงในระบบฯ