สร้างสรรค์และคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการนักวิจัยด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งแต่การขอรับความคุ้มครองในทรัพย์สินทางปัญญา การวางกลยุทธ์ในการนำทรัพย์สินทางปัญญาออกสู่ตลาด และการอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา โดยนักจัดการทรัพย์สินทางปัญญามืออาชีพ นักวิจัยสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการด้านต่างๆ ได้ดังนี้

เลือกเมนู

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่จำกัดชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีการแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือในรูปแบบของสิ่งของที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ กรรมวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม เป็นต้น
          ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์  และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม  ดังนี้

1. ลิขสิทธิ์

หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะกระทำการใดๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกในรูปแบบอย่างใด โดยประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่

  • วรรณกรรม (รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  • นาฏกรรม
  • ศิลปกรรม
  • ดนตรีกรรม
  • โสตทัศนวัสดุ
  • ภาพยนตร์
  • สิ่งบันทึกเสียง
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
    นอกจากนี้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย ทั้งนี้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่ครอบคลุมถึงความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ วิธีทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

2. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม 

หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิต ที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า การคุ้มครองพันธุ์พืช แบบผังภูมิของวงจรรวม และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแบ่งออกได้ ดังนี้

เป็นการคุ้มครองการคิดค้นสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์  หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์  ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การให้ความคุ้มครองการคิดค้นที่เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้าง หรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม และเน้นการประดิษฐ์ที่มีลักษณะของการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถคิดค้นขึ้นโดยง่าย เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ยารักษาโรค
  2. อนุสิทธิบัตร หมายถึง การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก โดยอาจเป็นการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ หรือปรับปรุงจากการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนเพียงเล็กน้อย
  3. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้ และแตกต่างไปจากเดิม
    ผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร หรือผู้ทรงสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

หมายถึง แบบ แผนผัง หรือภาพที่ทำขึ้น ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบหรือวิธีใดเพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

หมายถึง เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตรา ที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  1. เครื่องหมายการค้า  หมายถึง เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับสินค้าเพื่อแสดงให้เห็นว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น กระทิงแดง M-150 มาม่า ไวไว เป็นต้น
  2. เครื่องหมายบริการ  เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้กับบริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น การบินไทย ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น
  3. เครื่องหมายรับรอง  หมายถึง เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อรับรองเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้น เช่น ตลาดต้องชม หนูณิชย์บอกต่อความอร่อย ฮาลาล เป็นต้น
  4. เครื่องหมายร่วม  หมายถึง เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐ หรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

หมายถึง ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป โดยเป็นข้อมูลที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อทำให้ข้อมูลนั้นปกปิดเป็นความลับ

หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น ไทยประกันชีวิต ขนมบ้านอัยการ เป็นต้น

หมายถึง สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่า
สินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว เช่น ข้าวหอมมะลิ ทุ่งกุลาร้องไห้ ผ้าไหมยกดอกลำพูน ส้มโอนครชัยศรี ไข่เค็มไชยา เป็นต้น

  1. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อ้างอิง : Click )
  2. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อ้างอิง : Click )
  3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (อ้างอิง : Click )
  4. พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบของผังภูมิวงจรรวม พ.ศ. 2543 (อ้างอิง : Click )
  5. พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 (อ้างอิง : Click )
  6. พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 (อ้างอิง : Click )
  7. พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548 (อ้างอิง : Click )
  1. กำหนดให้ผู้รับทุนสามารถขอเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นได้และเมื่อหน่วยงานผู้รับทุน ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัย ได้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม จะช่วยให้ Startup และ SME สามารถรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น
  2. บังคับใช้เฉพาะกับการให้ทุนของหน่วยงานของรัฐที่มีวัตถุประสงค์หรือหน้าที่และอำนาจในการให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม
  3. กำหนดให้ผู้รับทุนเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับทุนได้
  4. กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้รับทุนหรือนักวิจัย ที่จะต้องใช้ประโยชน์*ผลงานภายในระยะเวลา 2 ปี(หากไม่มีการนำไปใช้ให้กลับไปเป็นของผู้ให้ทุน)/รายงานการใช้ประโยชน์ผลงาน/เมื่อมีรายได้ให้จัดสรรส่วนหนึ่งแก่นักวิจัยและอีกส่วนหนึ่งสำหรับการวิจัยและสร้างนวัตกรรม/ปฎิบัติตามระเบียบอื่นๆ เช่น การโอนสิทธิกำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนผลงานวิจัยและนวัตกรรม
  5. กำหนดให้ผู้ซึ่งประสงค์จะใช้ประโยชน์ในผลงานวิจัยและนวัตกรรม สามารถขออนุญาตใช้ประโยชน์ได้ โดยเสนอเงื่อนไขและค่าตอบแทนที่เพียงพอตามพฤติการณ์แห่งกรณี

โดยที่ การใช้ประโยชน์* ได้แก่ การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ/การใช้ประกอบธุรกิจ/การโอนสิทธิ และ หมายความรวมถึงความพยายามจะใช้ประโยชน์ มีลักษณะดังนี้

  • การวางยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์
  • การทำ due diligencd ของตนเอง
  • การทำ market survey
  • ยกระดับ TRLจากระดับต่ำ ให้สูงขึ้นให้ไกล้ market
  • การออกแบบรูปลักษณะภายนอกแะบรรจุภัณฑ์
  • การหา potential licensee
  • การวางแผนการลงทุน
  • การเข้าร่วมแสดงผลงาน/ประกวด/จับคู่ธุรกิจ

(อ้างอิง : Click )

คุณพรรษกร ฉันทวีโรจน์ (เล็ก)
0 7567 3575 , 2927
npatsako@mail.wu.ac.th

Scroll to Top