ศูนย์บริการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์

ศูนย์บริการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ส่งเสริมและรวบรวมศาสตร์ความเชี่ยวชาญของนักวิจัยทางด้านการแพทย์เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570) ประกอบด้วยศูนย์ความเป็นเลิศ สำนักวิชา และหน่วยงานสนับสนุนที่จะให้บริการกับภาคเอกชนและหน่วยงานภายนอก ดังนี้

 

ศูนย์ความเลิศด้านยาและเครื่องสำอาง

ศูนย์ความเลิศด้านนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านกัญชา กัญชง และกระท่อม

สำนักวิชาและโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์

บริการของเรา

บริการให้คำปรึกษาเบื้องต้น

บริการวิจัยและพัฒนาสูตรเครื่องสำอางค์ ยา ยาสมุนไพร ยาตำรับ ยาที่ผลิตจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาหารสำหรับผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงาม

บริการวิเคราะห์ ทดสอบฤทธิ์ของผลิตภัณฑ์ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภค

บริการให้คำปรึกษาด้านการยื่นขอ อย. จากผลิตภัณฑ์

บริการให้คำปรึกษาด้านการขอมาตรฐานสถานที่ผลิต

บริการวิจัยเทคนิคและกระบวนการสกัดสารสำคัญทางการแพทย์

รับผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบในห้องปฏิบัติการที่ได้การรับรองมาตรฐาน GMP

บริการให้คำปรึกษาด้านการวางระบบการผลิตยาในโรงงาน

บริการวิจัยและพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ของพืชสมุนไพร

บริการให้คำปรึกษาด้านการวางระบบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณ

บริการให้คำปรึกษาด้านการวางระบบการควบคุมคุณภาพยา มาตรฐาน GMP

ตัวอย่าง ผลงานที่ร่วมวิจัยและพัฒนากับภาคเอกชน

1.
การพัฒนาผลิตภัณฑ์แชมพูผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันหอมระเหยจากขิงและน้ำมันใบมะกรูด
2.
การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตยาสมุนไพรและอาหารเสริมเพื่อให้ผ่านมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
3.
การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์แผ่นแปะสมุนไพรพอกลดบวม
4.
การให้คำปรึกษาในการจัดทำหลักปฏิบัติที่ดีในการผลิตยาจากสมุนไพร
5.
พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงรอบดวงตาที่มีส่วนผสมของสารสกัดมังคุด
6.
พัฒนาผลิตภัณฑ์ครีมทาผิวน้ำมันปาล์มส้มแดง และกรรมวิธีการผลิตใช้เป็นเวชสำอาง
7.
วิเคราะห์ทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสารสกัดปลิงทะเล
8.
การพัฒนาระบบปลูกกัญชาให้ได้มาตรฐาน
9.
การพัฒนายาสำหรับเลิกยาเสพย์ติด ยารักษาเบาหวาน ยาลดความอ้วน
10.
การศึกษาฤทธิ์ของกระท่อมและประมาณสารเมทราไจนีนที่ไม่ก่อให้เกิด addiction
11.
การพัฒนาน้ำมันและครีมที่มีส่วนผสมของกระท่อมและไพลเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ
12.
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลูกประคบสลายไขมัน
13.
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางลบเลือนริ้วรอยจากกัญชาร่วมกับโพรไบโอติก
14.
การพัฒนาน้ำมันและครีมที่มีส่วนผสมของกระท่อมและไพลเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ

ทรัพย์สินทางปัญญา

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งเน้นทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ ศูนย์บริการวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์มีทรัพสินทางปัญญาที่พร้อมให้เอกชนสามารถมาขออนุญาตใช้สิทธิ ดังนี้

Scroll to Top