สูตรและกรรมวิธีการผลิตถ้วยยางป้องกันการสัมผัสลูกบิด

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

สูตรและกรรมวิธีการผลิตถ้วยยางป้องกันการสัมผัสลูกบิด

ที่มาและความสำคัญ

 การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (Corona Virus) สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสกับสารคัดหลั่งเช่น เหงื่อ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ติดเชื้อโดยตรง แต่การที่ผู้ติดเชื้อไปสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ย่อมทิ้งร่องรอยของเชื้อโควิด-19 ไว้ จากข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่าเชื้อไวรัสสามารถอยู่ในอากาศ ปะปนอยู่ในน้ำมูก เสมหะ น้ำลาย น้ำตา ละอองการไอ จามได้ประมาณ 5 นาที หากอยู่บนพื้น บนโต๊ะ ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ จะอยู่ได้ 7 ถึง 8 ชั่วโมง จากข้อมูลนี้จะพบว่าหนึ่งในจุดเสี่ยงที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวันคือลูกบิดประตูที่มีการใช้ร่วมกัน ซึ่งเชื้อไวรัสนี้จะสามารถอาศัยอยู่ได้ 7 ถึง 8 ชั่วโมง ซึ่งมือเป็นอวัยวะสำคัญที่มนุษย์ใช้หยิบ จับสิ่งของต่างๆ จึงเป็นจุดสะสมเชื้อโรคโดยตรง ดังนั้นต้องหลีกเลี่ยงการจับมือกับบุคคลอื่น การสัมผัสสิ่งของที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและห้ามนำมือมาสัมผัสบริเวณบริเวณ ตา หู จมูก ปาก บนใบหน้า

เทคโนโลยี

ถ้วยยางป้องกันการสัมผัสลูกบิดเป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) ผลิตจากยางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลัก มีความยืดหยุ่นสูง มีความเหนียวติดดี สามารถยึดเกาะและมีแรงเสียดทานที่สามารถหมุนลูกบิดให้หมุนไปในทิศทางที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังมีความทนทานต่อการขัดถู ความต้านทานต่อแรงดึงและการฉีกขาดสูง มีความทนทานต่อการสัมผัสกับน้ำและเอทิลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ได้ดี สามารถล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ได้ โดยสูตรผลิตถ้วยยางประกอบด้วย ยางธรรมชาติ เกรดยางแผ่นรมควันชั้น 3 สารตัวเติมต่างๆที่นักวิจัยได้คิดค้นและทดสอบแล้ว

ข้อดี / จุดเด่น

  1. เป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) ผลิตจากยางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลัก
  2. มีความยืดหยุ่นสูง มีความเหนียวติดดี สามารถยึดเกาะและมีแรงเสียดทานที่สามารถหมุนลูกบิดให้หมุนไปในทิศทางที่ต้องการได้
  3. มีความทนทานต่อการขัดถู ความต้านทานต่อแรงดึงและการฉีกขาดสูง
  4. มีความทนทานต่อการสัมผัสกับน้ำและเอทิลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70 เปอร์เซ็นต์ได้ดี สามารถล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอล์ได้”

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย ผศ.ดร.ประชิด สระโมฬี
สำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยี

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร 
เลขที่คำขอ 2003002199

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ https://www.freepik.com/

Scroll to Top