นวัตกรรมชีวภัณฑ์เชื้อรา Trichoderma asperellum NST-009

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

นวัตกรรมชีวภัณฑ์เชื้อรา Trichoderma asperellum NST-009

ที่มาและความสำคัญ

การปลูกพืชเพื่อให้ได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของตลาดคือเป้าหมายหลักของเกษตรกร แต่อุปสรรคที่สำคัญคือปัญหาด้านศัตรูพืชเพราะสามารถทำให้พืชเกิดความเสียหายได้ ซึ่งเกษตรกรนิยมใช้สารเคมีเพราะใช้งานสะดวกและมีประสิทธิภาพดีในการกำจัดศัตรูพืช อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่าการใช้สารเคมีทำให้เสียสมดุลทางธรรมชาติเกษตรอย่างรุนแรง การลดปัญหาศัตรูพืชที่เหมาะสมคือการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานระหว่างเคมีและชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นทีมนักวิจัยมของหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จึงได้ศึกษาการใช้เชื้อราในการควบคุมศัตรูพืชได้เชื้อรา T. asperellum NST-009 ที่มีประสิทธิสูงทั้งการควบคุมโรคพืช สร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ละลายธาตุอาหารในดิน ทั้งยังชักนำให้ต้นพืชสร้างภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย ซึ่งได้นำมาพัฒนาต่อยอดผลิตเป็นชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืชที่จะทำให้ผลผลิตพืชมีคุณภาพและมีความปลอดภัยยิ่งขึ้นต่อเกษตรกรและผู้บริโภค นวัตกรรมนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อความยั่งยืนของการเกษตรในประเทศ ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจในการส่งออกผลผลิตพืชที่ปลอดภัยสู่นานาประเทศ

เทคโนโลยี

นักวิจัยได้ค้นพบเชื้อรา T. asperellum NST-009 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แยกได้จากรากเฟิร์นมหาสดำ (Cyathea podophylla) บนเทือกเขาหลวงจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านการคัดเลือกจากกว่า 2,000 สายพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ NST-009 ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการควบคุมโรคพืช โดยมีกลไกทำลายเชื้อราโรคพืชด้วยการกินเชื้อราโรคพืชเป็นอาหาร สร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ละลายธาตุอาหารในดิน และชักนำให้ต้นพืชสร้างภูมิคุ้มกันได้ จึงได้นำมาพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรมชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืชที่ได้รับรางวัลชนะเลิศสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2020

ข้อดี / จุดเด่น

  1. ประสิทธิภาพการควบคุมโรคพืชสูง และสามารถควบคุมเชื้อราโรคพืชได้กว้างขวาง เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรครากขาวยางพารา โรคเน่าระดับดินของพืชผัก โรคแอนแทรคโนสของพริก และโรคสำคัญของข้าว เป็นต้น
  2. ส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นพืชและช่วยละลายธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืชได้ดี
  3. เจริญเพิ่มปริมาณในดินที่ปนเปื้อนสารเคมีทางการเกษตรได้ดี
  4. เจริญเติบโตเร็วและครอบครองส่วนต่างของต้นพืชได้ดี
  5. ทนต่อสภาพอากาศแล้งและอุณหภูมิสูง”

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย รศ.ดร.วาริน อินทนา
สำนักวิชา เทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

ความลับทางการค้า

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ https://www.freepik.com/

Scroll to Top