กรรมวิธีเร่งการเข้าสู่ระยะซีสต์ของอะแคนทามีบา

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

กรรมวิธีเร่งการเข้าสู่ระยะซีสต์ของอะแคนทามีบา

ที่มาและความสำคัญ

การเพาะเลี้ยงอะแคนทามีบาให้เข้าสู่ระยะซีสต์ในห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในการวิจัย โดยส่วนใหญ่สามารถเพาะเลี้ยงได้บนอาหารแข็งนอนนิวเทรียนท์อะการ์ โดยใช้เชื้อแบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล ที่อยู่ในรูปแบบที่ไม่ทำงาน เป็นสารอาหาร หรือเพาะเลี้ยงเชื้ออะแคนทามีบาในอาหารเหลว โปรตีโอสเพปโทน-ยีสต์สกัด-กลูโคส การเพาะเลี้ยงบนอาหารทั้งสองชนิด ต้องใช้ระยะเวลา 14-21 วัน เชื้อจึงจะเข้าสู่ระยะซีสต์โดยสมบูรณ์ ปัจจุบันมีการใช้อาหารเหลวนีฟ เพื่อกระตุ้นการเข้าสู่ระยะซีสต์ของอะแคนทามีบา โดยเลี้ยงในอาหารดังกล่าวและบ่มที่อุณหภูมิห้อง เป็นระยะเวลา 3-7 วัน นอกจากอาหารในการเพาะเลี้ยงอะแคนทามีบาให้เข้าสู่ระยะซีสต์แล้ว กรรมวิธีเร่งการเข้าสู่ระยะซีสต์ของอะแคนทามีบาเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญเช่นกัน เพื่อให้ได้อะแคนทามีบาระยะซีสต์สมบูรณ์ ในระยะเวลาอันสั้นเพื่อสะดวกสำหรับใช้ในการศึกษาวิจัย

เทคโนโลยี

ใช้กรรมวิธีโดยการเตรียมเชื้ออะแคนทามีบา การล้างอาหารเลี้ยงเชื้อออกจากตัวเชื้อ การกระตุ้นการเข้าสู่ระยะซีสต์ด้วยอาหารสำหรับกระตุ้นการเข้าสู่ระยะซีสต์ และสภาวะในการบ่มเชื้อ

ข้อดี / จุดเด่น

  1. เพื่อให้ได้ซีสต์ระยะสมบูรณ์
  2. เพื่อประโยชน์ในการตรวจวิเคราะห์โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากอะแคนทามีบา เช่น โรคติดเชื้อในระบบประสาทส่วนกลางชนิดรุนแรง โรคกระจกตาอักเสบ เป็นต้น

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย รศ.พญ.วีระนุช นิสภาธร
สำนักวิชา สหเวชศาสตร์

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร – เลขที่คำขอ 2103001359

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ www.pexels.com

Scroll to Top