กรรมวิธีเตรียมน้ำเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท ทีไอเอสทีอาร์ 2304 (Streptomyces sp. TISTR 2304) เพื่อใช้ในการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อบนผิววัสดุ

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

กรรมวิธีเตรียมน้ำเลี้ยงเชื้อสเตรปโตมัยสีท ทีไอเอสทีอาร์ 2304 (Streptomyces sp. TISTR 2304) เพื่อใช้ในการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อบนผิววัสดุ

ที่มาและความสำคัญ

การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมรอบตัวมนุษย์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งการศึกษานำเอาของเหลวส่วนเหลือจากการนำน้ำเลี้ยงเชื้อไปทำบริสุทธิ์สารแบบสกัดเหลว มาใช้กำจัดเชื้อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ในการทำลายจุลินทรีย์ต่างๆ กล่าวคือแบคทีเรียสร้างสปอร์ ได้แก่ บาซิลลัส ซับทิลลิส เอทีซีซี 6633 แบคทีเรียแกรมบวก แบคทีเรียแกรมลบ ที่ดื้อยาโดยผลิตเอนไซม์เบต้าแลคแตมเมสฤทธิ์ขยาย และยีสต์ โดยพบว่าแบคทีเรียแกรมบวก และแบคทีเรียแกรมลบชนิด เอชเชอริเชีย โคไล ทีไอเอสทีอาร์ 887 ถูกทำลายได้ด้วยของเหลวส่วนเหลือจากการนำน้ำเลี้ยงเชื้อไปทำบริสุทธิ์สารแบบสกัดเหลว ได้ใกล้เคียงกับ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ ดังนั้นอาจสรุปได้ว่าของเหลวส่วนเหลือจากการนำน้ำเลี้ยงเชื้อไปทำบริสุทธิ์สารแบบสกัดเหลว ด้วยเอธิลอะซิเตทอาจสามารถนำไปใช้เพื่อเตรียมเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการทำลายจุลินทรีย์ใกล้เคียงกับ 70% เอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อนำไปใช้เดี่ยวหรือใช้ร่วมกับ 70% เอทิลแอลกอฮอล์

เทคโนโลยี

ใช้กรรมวิธีโดยนำชิ้นวุ้นเชื้อสเตรปโตมัยสีท ทีไอเอสทีอาร์ 2304 ไปบ่มเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อเหลวลูเรีย-เบอร์ทานิ แบบครึ่งสูตร ในขวดแบฟเฟร็ดที่ใส่เม็ดลูกปัดแก้ว ด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ ซึ่งจะกระตุ้นให้เชื้อสเตรปโตมัยสีท ทีไอเอสทีอาร์ 2304 ผลิตสารเมแทบอไลท์ทุติยภูมิออกฤทธิ์ปฏิชีวนะต้านเชื้อสแตปฟิลโลคอคคัส ออเรียส ทีไอเอสทีอาร์ 517 และ เอชเชอริเชีย โคไล ทีไอเอสทีอาร์ 887 จากนั้นนำน้ำเลี้ยงเชื้อไปทำบริสุทธิ์สารแบบสกัดเหลว ด้วยตัวทำละลายอินทรีย์เอธิลอะซิเตทจะได้สารที่ออกฤทธิ์ต้านสแตปฟิลโลคอคคัส ออเรียสที่ดื้อยาเมธิซิลลิน ซึ่งสามารถนำน้ำเลี้ยงเชื้อส่วนที่เหลือจากการทำบริสุทธิ์สารแบบสกัดเหลว ไปใช้ออกฤทธิ์เดี่ยวหรือออกฤทธิ์ร่วมกับ 70% เอธิลแอลกอฮล์ในการนำไปผลิตเป็นน้ำยาฆ่าเชื้อบนผิววัสดุที่สามารถนำไปใช้ทำลายเชื้อบนผิววัสดุต่อไปในอนาคต

ข้อดี / จุดเด่น

ใช้ในการผลิตน้ำยาฆ่าเชื้อบนผิววัสดุ

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย รศ.ดร.มณฑล เลิศคณาวนิชกุล
สำนักวิชา สหเวชศาสตร์

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร-เลขที่คำขอ 1803001272

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ www.pexels.com

Scroll to Top