อาหารคัดเลือกจำเพาะสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ ชนิดทริโคพัยตอน

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

อาหารคัดเลือกจำเพาะสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ ชนิดทริโคพัยตอน

ที่มาและความสำคัญ

“การตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ทางห้องปฏิบัติการทำโดยการเพาะเลี้ยงแยกเชื้อจากชิ้นผิวหนังของผู้ป่วยบนวุ้นอาหาร Sabouraud Dextrose เป็นอาหารเพาะเลี้ยงราพื้นฐาน มีเพปโทนและน้ำตาลเด็กโตรสแหล่งพลังงาน มี pH เป็นกรดไม่เหมาะต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน
Mycosel เป็นอาหารวุ้นเลี้ยงเชื้อราที่นิยม เติมสารต้านเชื้อราและแบคทีเรียปนเปื้อนเพิ่ม แต่เนื่องจากมิได้จำเพาะกับราเดอร์มาโตไฟต์ทำให้ต้องใช้ความชำนาญของนักจุลชีววิทยาในการจำแนกชนิดของเชื้อรา ประกอบกับจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศทำให้มีราแพง
ดังนั้นผู้ประดิษฐ์จึงได้คิดค้นและพัฒนาอาหารคัดเลือกจำเพาะเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์เท่านั้น โดยเพิ่มสารอาหารซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ มียูเรียเป็นสารตั้งต้นเพื่อกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ยูเรียเอสของเชื้อเดอร์มาโตไฟต์ชนิด Trichophyton ในสภาวะที่มีอินดิเคเตอร์จะเจริญเติบโตและเปลี่ยนสีอาหารจากสีเหลืองเป็นสีชมพูได้ โดยเฉพาะ T. rubrum จะเจริญให้วงแหวนสีแดงรอบโคโลนี เชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดอื่นๆ เจริญได้แต่ไม่เปลี่ยนสีอาหาร ในขณะที่เชื้อราและแบคทีเรียปนเปื้อนไม่สามารถเจิญได้เนื่องจากมีสารยับยั้ง”

เทคโนโลยี

อาหารคัดเลือกจำเพาะสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน ประกอบด้วย วุ้นอาหาร , เพปโทน , น้ำตาลเด็กโตรส , กากถั่วเหลือง , ยูเรีย , คลอแรมเฟนิคอล และไซโคลเฮ็กซาไมด์ โดยมีฟินอลเรด 1 กรัมต่อลิตรเป็นอินดิเคเตอร์ ภายใต้สภาวะบ่มเลี้ยงเชื้อที่ 25 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์ พบการเจริญของเชื้อราเดอร์มาโตไฟต์ชนิดทริโคพัยตอน ซึ่งเปลี่ยนสีอาหารเป็นสีชมพู

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ
สำนักวิชา สหเวชศาสตร์

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 2003001735

ข้อดี / จุดเด่น

  1. การเจริญของเชื้อส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกรดด่าง (pH) ทำให้เกิดการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ช่วยให้อ่านผลได้ง่ายขึ้น
  2. ใช้เวลาเพาะเลี้ยงน้อยลง
  3. วินิจฉัยและรักษาโรคกลากได้ถูกต้อง

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ www.pexels.com

Scroll to Top