สูตรอาหารแยกเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอีและแบคทีเรียที่ไม่ใช้น้ำตาลกลูโคส

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

สูตรอาหารแยกเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอีและแบคทีเรียที่ไม่ใช้น้ำตาลกลูโคส

ที่มาและความสำคัญ

แบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอี เป็นแบคทีเรียส่วนใหญ่ที่พบเป็นแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้ของคนและสัตว์ โดยแบคทีเรียเหล่านี้มักก่อโรคในระบบทางเดินอาหารโดยการกินอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนเข้าไป ซึ่งพบว่าแบคทีเรียวงศ์นี้เป็นสาเหตุของโรคสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อที่เป็นสาเหตุทั้งหมด นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในกระแสเลือด
แบคทีเรียกลุ่มไม่ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นแหล่งพลังงาน ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในอาหารวุ้น แมคคองกี และจะให้สีของโคโลนีที่เหมือนกับแบคทีเรียที่ไม่ใช้น้ำตาลแล็กโตส เพราะฉะนั้นหากไม่ทำการทดสอบออกซิเดส จะไม่มีทางรู้ว่าเป็นเชื้อกลุ่มแบคทีเรียที่ไม่ใช้น้ำตาลแล็กโตสหรือแบคทีเรียที่ไม่ใช้น้ำตาลกลูโคส โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียกลุ่มไม่ใช้น้ำตาลกลูโคสที่ให้สีโคโลนีบนอาหารวุ้นแมคคองกีเหมือนกับเชื้อแบคทีเรียกลุ่มไม่ใช้น้ำตาลแล็กโตส และผลการทดสอบออกซิเดสเป็นลบ จะไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งการก่อโรคของเชื้อในกลุ่มนี้ที่พบก่อโรคบ่อย เช่น การติดเชื้อ Pseudomonas aeruginosa เป็นเชื้อฉวยโอกาสที่จะก่อโรคกับผู้ป่วยเด็กและ ทางทีมนักวิจัยจึงค้นค้นพัฒนาสูตรอาหารแยกเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอีและแบคทีเรียที่ไม่ใช้น้ำตาลกลูโคส ที่มีประสิทธิภาพ ผลิตใช้ได้เอง ลดต้นทุนการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ส่งผลดีต่อสุขภาพประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ

เทคโนโลยี

สูตรอาหารแยกเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอีและแบคทีเรียที่ไม่ใช้น้ำตาลกลูโคส ประกอบด้วย วุ้นอาหาร , น้ำตาลกลูโคส , น้ำตาลน้ำตาลแลคโตส เพปโตนและโปรตีโอสเพปโตน , กรดอะมิโนอาร์จีนีน เกลือน้ำดี , โซเดียมคลอไรด์ คริสตัลไวโอเลต และบรอมไธมอลบลูเป็นอินดิเคเตอร์ ซึ่งพบการเจริญของเชื้อแบคทีเรียในวงศ์เอนเทอโรแบคทีเรียซีอีกลุ่มใช้น้ำตาลแล็กโตส เจริญบนอาหารและให้โคโลนีทสีเหลืองเข้ม กลุ่มไม่ใช้น้ำตาลแล็กโตสมีโคโลนีสีเขียวตรงกลางรอบๆใสไม่มีสี ในขณะที่แบคทีเรียไม่ใช้น้ำตาลกลูโคสมีโคโลนีสีเขียวเข้มหรือใส ไม่มีจุดเขียวตรงกลางโคโลนี และไม่พบการเจริญของเชื้อแบคทีเรียแกรมบวก

ข้อดี / จุดเด่น

  1. ผลิตใช้เองได้
  2. ลดต้นทุนการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อแบคทีเรีย”

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย ผศ.ดร.สืบตระกูล วิเศษสมบัติ
สำนักวิชา สหเวชศาสตร์

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 1803001075

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ www.pexels.com

Scroll to Top