แนวคิดนวัตกรรมและการเป็น
ผู้ประกอบการ

WEDA CLUB (Walailak Entrepreneurial Development Academy) ภายใต้การดูแลของอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นหน่วยงานหลักของมหาวิทยาลัยในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรม (Innovation culture) ให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักศึกษา นักวิจัยและบุคคลากรของมหาวิทยาลัย โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างแนวคิดและแรงบันดาลใจ (Mindset), การฝึกอบรมให้รู้จักเครื่องมือในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ (Toolset) กิจกรรมระดมสมองเพื่อการสร้างไอเดียนวัตกรรมในการแก้ปัญหาให้กับสังคม ตั้งแต่ระดับมหาวิทยาลัยจนถึงระดับประเทศ (hackathon) และกิจกรรมประกวดแข่งขันแนวคิดนวัตกรรม (pitching) เพื่อเฟ้นหาสุดยอดแนวคิดใหม่ๆ สำหรับการสนับสนุนให้ทดลองประกอบเป็นธุรกิจนวัตกรรมจริง

WEDA ส่งเสริมแนวคิดนวัตกรรมในนักศึกษาผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น ชมรมผู้ประกอบการนักศึกษา WEDA Club การฝึกการเป็นผู้ประกอบการในร้านกาแฟ WEDA Cafe และกิจกรรมบรรยายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษา WEDA Talk

นวัตกรรมคืออะไร ?

นวัตกรรม เกิดจากการรวมตัวของ 3 กลุ่มคำที่สำคัญ คือ Thing + New + Value

“THING”

“THING” แทนความหมายของสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ดำเนินการทำออกมาแล้ว โดยแบ่งออกเป็นประเภทย่อยที่สุดได้ 4 ประเภท คือ

ผลิตภัณฑ์ (Product)

กระบวนการ (Process)

การบริการ (Service)

รูปแบบธุรกิจ (Business Model)

นั่นแปลว่า…ขอบข่ายของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ “THING” สามารถเป็นได้ทั้งสินค้า บริการ กระบวนการ หรือโมเดลต่าง ๆ ที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้

“NEW”

หมายถึง ความใหม่ แต่ถ้าพูดคำว่าใหม่ลอย ๆ อาจจะเกิดอาการถกเถียงกันว่าใหม่ของฉันแต่อาจจะไม่ใหม่ของเธอ ใหม่ของประเทศแต่อาจจะไม่ใหม่สำหรับโลกใบนี้ จึงเป็นข้อถกเถียงกันเสมอว่า นวัตกรรมต้องใหม่แค่ไหน จึงจะเรียกว่านวัตกรรม สำหรับความใหม่นั้น ผู้เขียนขอหยิบมาตรฐานที่สามารถอ้างอิงให้เราสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น คือ BS-7000 : 2008 หรือเรียกชื่อเต็มว่า British Standard 7000 – 2008 : Managing Innovation ซึ่งได้อธิบายนิยามของคำว่า”ใหม่” ไว้ว่ามี 9 ระดับด้วยกัน ซึ่งความใหม่ที่แตกต่างกันนั้นแสดงให้เห็นถึงระยะเวลาในการพัฒนา นำเสนอ หรือการได้มาซึ่งรางวัล หรือสิ่งตอบแทนที่แตกต่างกัน และเป็นระดับของนวัตกรรมที่แตกต่างกันอีกด้วย
ดังนั้นระดับความใหม่ของนวัตกรรม มีได้หลายระดับ ผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับอุตสาหกรรมแต่ไม่ใหม่ในประเทศ ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรมนั่นเอง หรือบางครั้งเราสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาของตัวเองในแบบที่ตัวเรายังไม่เคยทำมาก่อน ก็เรียกว่าได้ว่า เป็นนวัตกรรมระดับบุคคล (ใหม่สำหรับตัวเอง) ได้เช่นกัน

“VALUE”

“คุณค่า” คือ กลุ่มคำสำคัญที่ขาดไม่ได้ สำหรับนิยามของนวัตกรรม นั่นคือ สิ่งใหม่นั้นจะเกิดคุณค่าได้จริงก็ต่อเมื่อมีผู้นำไปใช้งาน (User) แล้วเท่านั้น หรือพูดอีกแง่คือ มีผู้ใช้งานหรือผู้ที่ได้ประโยชน์จากสิ่งนั้น (THING) นั่นเอง โดยเราสามารถพิจารณาคุณค่าเบื้องต้นจากสามเหลี่ยม “Value to Customer” ว่ามีคุณค่าอยู่ 3 ประเภทที่ลูกค้าต้องการ ได้แก่

creator

Gain Creator

การได้รับผลตอบแทน / ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น มากขึ้น

low-cost

Reduce Pain Point

การลดความเจ็บปวด หรือปัญหาที่เกิดขึ้น โดยสามารถมองให้ละเอียดขึ้นเป็น 4 มิติของปัญหา ได้แก่ Man = คน Machine = เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ Material = วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ Method = กระบวนการ วิธีการ

brain

Emotional Contribution

การได้รับผลตอบแทน / ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น มากขึ้น

โดยสรุป คือ นวัตกรรม = THING + NEW + VALUE ซึ่งในนิยามตามแนวทางของ #EasyInnovation คือ สิ่งที่สร้างสรรค์ พัฒนา ปรับปรุงขึ้นมาใหม่และ เกิดคุณค่า/ประโยชน์ โดยจะเป็นนวัตกรรมในระดับไหนนั้นก็จะขึ้นอยู่กับระดับของความใหม่ และเป็นนวัตกรรมประเภทไหนนั้นก็กลับมาดูที่ “THING” นั่นเอง

Contact Footer PM

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คุณสุดารัตน์ มานะจิตต์ (ปัตน์)
0 7567 3580
sudarat.ma@wu.ac.th

Scroll to Top