กล้องจุลทรรศน์เพื่อการเรียนการสอนชนิดพกพา

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

กล้องจุลทรรศน์เพื่อการเรียนการสอนชนิดพกพา

ที่มาและความสำคัญ

กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เป็นกล้องสำหรับมองวัตถุที่ตาเปล่าไม่สามารถมองเห็นหรือวิเคราะห์ภาพที่เกิดจากการมองวัตถุได้ ดังนั้นกล้องจุลทรรศน์จึงถูกนำไปใช้ในทุกอุตสาหกรรมกันอย่างกว้างขวางกระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์ จึงได้มีการบรรจุวิชา “การใช้กล้องจุลทรรศน์” ลงในหลักสูตรตั้งแต่มัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อให้นักเรียนมีพื้นฐานในการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆจากการใช้กล้อง

เทคโนโลยี

ผู้ประดิษฐ์ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เพื่อการเรียนการสอนชนิดพกพา โดยกล้องจุลทรรศน์จะถูกออกแบบให้มีความทนทานต่อการใช้งานในภาคสนามโดยใช้วัตถุดิบที่เป็นพลาสติกในการสร้าง สามารถประกอบได้ง่าย และรองรับการพิมพ์ออกมาเพื่อใช้งานโดยใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ กล้องจุลทรรศน์ที่พัฒนาขึ้นมานั้นจะประกอบด้วยเลนส์เพียงเลนส์เดียว คือ เลนส์วัตถุโดยปราศจากเลนส์ตา โดยกล้องมีกลไกรองรับให้ผู้ใช้งานสามารถขยับเลื่อนเพื่อหาตำแหน่งของวัตถุบนแผ่นสไลด์ในระนาบ xy (ระนาบการวางแผ่นสไลด์) และรองรับการปรับความคมชัด (ปรับระยะห่างระหว่างเลนส์วัตถุกับวัตถุ) ในแนวแกน z เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพของวัตถุที่ชัดเจนที่สุด

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย รศ.ดร.วัฒนพงศ์ เกิดทองมี
สำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร-เลขที่คำขอ 1603000356

ข้อดี / จุดเด่น

  1. พกพาได้ง่าย และ สะดวก
  2. สามารถใช้งานได้เทียบเท่ากับกล้องจุลทรรศน์ขนาดใหญ่
  3. ราคาถูก

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ https://www.freepik.com/

Scroll to Top