วิธีการลดการยุบตัวของไม้ปาล์มน้ำมันในกระบวนการอบแห้ง ด้วยวิธีการเพิ่มความชื้นในไม้แล้วแช่เยือกแข็ง

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

วิธีการลดการยุบตัวของไม้ปาล์มน้ำมันในกระบวนการอบแห้ง ด้วยวิธีการเพิ่มความชื้นในไม้แล้วแช่เยือกแข็ง

ที่มาและความสำคัญ

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจที่ปลูกมากในประเทศไทย เมื่อต้นปาล์มน้ำมันมีอายุได้ประมาณ 25-30 ปี ผลผลิตปาล์มน้ำมันจะมีปริมาณลดน้อยลง รวมทั้งความสูงของลำต้นที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตยากขึ้น เกษตรกรจึงต้องมีการตัดโค่นต้นปาล์มน้ำมันเพื่อปลูกใหม่ทดแทน เกษตรกรมักใช้วิธีการตัดโค่นลำต้นทิ้ง แล้วเผาหรือฝั่งกลบภายในสวน เพื่อกำจัดเศษชีวมวลที่เกิดขึ้นจากลำต้นปาล์มน้ำมัน เกษตรบางส่วนอาจใช้วิธีฉีดสารเคมีเพื่อให้ยืนต้นตาย ปัจจุบันลำต้นปาล์มน้ำมันทั้งหมดจะกลายเป็นเศษชีวมวลเหลือทิ้งภายในสวน โดยยังไม่มีการนำไม้ปาล์มน้ำมันมาแปรรูปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรม เนื่องจากโครงสร้างของไม้ปาล์มน้ำมันที่มีความหนาแน่นไม่สม่ำเสมอในแต่ละบริเวณของลำต้น ส่งผลให้กระบวนการแปรรูปไม้ปาล์มน้ำมันเบื้องต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนกระบวนการอบแห้งทำได้ยาก ไม้ปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของลำต้นจะเกิดความเสียหายจากการยุบตัวหลังกระบวนการอบแห้งจนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

เทคโนโลยี

ทีมนักวิจัยได้ใช้องค์ความรู้เฉพาะทาง สำหรับวิธีการลดปริมาณการยุบตัวและรอยฉีกขาดจากการยุบตัวของไม้ปาล์มน้ำมันในกระบวนการอบแห้ง ด้วยวิธีการเพิ่มความชื้นในไม้จนกระทั่งไม้มีความชื้นอิ่มตัว จากนั้นนำไม้ที่ได้ไปผ่านกระบวนการแช่เยือกแข็งเพื่อเปลี่ยนสภานะของเหลวภายในไม้ให้กลายเป็นสถานะของแข็ง แล้วไม้ที่ได้จะสามารถนำไปผ่านกระบวนการอบได้ทันที หรือปล่อยให้ละลายภายใต้สภาวะที่อุณหภูมิห้องหรือที่อุณหภูมิอื่นๆก่อนนำไปอบแห้ง

ข้อดี / จุดเด่น

  1. เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้ไม้ปาล์มน้ำมันง่าย ไม่ซับซ้อน ทุกคนสามารถทำได้
  2. ไม้ปาล์มน้ำมันที่ได้ไม่เสียรูปทรงของไม้และไม่มีรอยฉีกขาดภายใน ที่เกิดจากการยุบตัวในกระบวนการอบแห้ง
  3. เป็นวิธีการที่สามารถเพิ่มมูลค่าของไม้ปาล์มน้ำมันมีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในเชิงพาณิชย์
  4. เพื่อลดจำนวนเศษชีวมวลและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน”

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย รศ.ดร.นิรันดร มาแทน
สำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 2003001129

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ https://www.freepik.com/

Scroll to Top