ระบบถังปฏิกรณ์สองชั้นสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียอินทรีย์

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

ระบบถังปฏิกรณ์สองชั้นสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียอินทรีย์

ที่มาและความสำคัญ

ปัจจุบันของเสียที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมภาคใต้ ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำทิ้งจากกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มในโรงงาน โดยน้ำทิ้งดังกล่าวจะถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อนำก๊าซที่ได้ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม หรือนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในโรงงานหรือขายให้กับการไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตามปริมาณก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้นั้นพบว่ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมจึงมีความพยายามหาวัสดุเหลือทิ้งชนิดอื่นๆ มาเป็นวัตถุดิบเสริมสำหรับการผลิตก๊าซชีวภาพร่วมกับของเสียอินทรีย์เดิมที่มีอยู่ในพื้นที่ โดยส่วนใหญ่วัตถุดิบที่นำมาช่วยเพิ่มผลผลิตและเหมาะสมกับภาคอุตสาหกรรมในภาคใต้คือของเสียอินทรีย์ประเภทลิกโนเซลลูโลส อย่างเช่น ทะลายปาล์มเปล่า หญ้าเนเปียร์ เป็นต้น

เทคโนโลยี

ระบบถังปฏิกรณ์สองชั้นสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียอินทรีย์ในสถานะของแข็งและของเหลวโดยกระบวนการหมักแบบไร้อากาศ คือ ระบบถังปฏิกรณ์แบบใหม่ (ถังปฏิกรณ์สองชั้น)

ข้อดี / จุดเด่น

สำหรับนำไปในใช้ผลิตก๊าซชีวภาพจากของเสียอินทรีย์ได้หลากหลายชนิด เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของอุตสาหกรรมให้สามารถเก็บเกี่ยวพลังงานและลดการสูญเสียสารอินทรีย์ในน้ำทิ้ง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าต่อการผลิตให้ได้มากที่สุด และลดพื้นที่ในการก่อสร้างระบบการผลิตก๊าซชีวภาพ

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย รศ.ดร.กำชัย นุ้ยธิติกุล
สำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 2003001130

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ https://www.freepik.com/

Scroll to Top