กรรมวิธีการผลิตคอนจูเกตไลโนเลอิกจากแบคทีเรีย Lactobacillus plantarum WU-P19 ที่ชักนำด้วยกรดไลโนเลอิกและไคโตซาน

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

กรรมวิธีการผลิตคอนจูเกตไลโนเลอิกจากแบคทีเรีย Lactobacillus plantarum WU-P19 ที่ชักนำด้วยกรดไลโนเลอิกและไคโตซาน

ที่มาและความสำคัญ

คอนจูเกตไลโนเลอิกไอโซเมอร์ต่างๆพบในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น นมและเนื้อจากสัตว์เคี้ยวเอื้องมีประมาณ 28 ไอโซเมอร์ แต่ชนิดที่มีความสำคัญและมีฤทธิ์ทางชีวภาพมี 2 ไอโซเมอร์ คือคอนจูเกตไลโนเลอิก1 เช่น ซีส-9, ทรานส์-11-ซีแอลเอ และคอนจูเกตไลโนเลอิก2 เช่น  ทรานส์-10, ซีส-12-ซีแอลเอ โดยทั้งสองไอโซเมอร์นี้มีฤทธิ์ในด้านเภสัชศาสตร์และส่งเสริมสุขภาพ เช่น ป้องกันโรคเบาหวาน หรือช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินให้ปกติ ต้านมะเร็ง ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันหรือส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และมีส่วนช่วยในระบบการเผาผลาญไขมัน

เทคโนโลยี

กรรมวิธีการผลิตคอนจูเกตไลโนเลอิกด้วยแบคทีเรีย L. plantarum WU-P19 ที่ชักนำด้วยการเติมกรดไลโนเลอิกและไคโตซานมีขั้นตอนตามที่นักวิจัยได้คิดค้นและวิจัยขึ้น

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย ศ.ดร.วรรณา ชูฤทธิ์
สำนักวิชา รองอธิการบดี

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 1703002394

ข้อดี / จุดเด่น

ผลิตคอนจูเกตไลโนเลอิก จากแบคทีเรีย L. plantarum WU-P19 ด้วยการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียในอาหารเลี้ยงเชื้อที่เตรียมขึ้นโดยที่คอนจูเกตไลโนเลอิกนี้มีฤทธิ์ในด้านเภสัชศาสตร์และส่งเสริมสุขภาพ เช่น ป้องกันโรคเบาหวาน หรือช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและอินซูลินให้ปกติ ต้านมะเร็ง ป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันหรือส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และมีส่วนช่วยในระบบการเผาผลาญไขมัน จึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์สู่การผลิตในเชิงพาณิชย์ได้

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ https://www.freepik.com/

Scroll to Top