สูตรอาหารเลี้ยงเชื้ออะแคนทามีบาให้เข้าสู่ระยะซีสต์

เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่พร้อมถ่ายทอด

สูตรอาหารเลี้ยงเชื้ออะแคนทามีบาให้เข้าสู่ระยะซีสต์

ที่มาและความสำคัญ

อะแคนทามีบา (Acanthamoeba spp.) เป็นโปรโตซัวที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติ เช่น ดินและน้ำ ก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงในคน เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (granulomatous amebic encephalitis) โรคกระจกตาอักเสบ (amebic keratitis) วงจรชีวิตของอะแคนทามีบาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะโทรโฟซอยต์ (trophozoite) และระยะซีสต์ (cyst) โครงสร้างทางสรีรวิทยาของระยะซีสต์ประกอบด้วยผนังเซลล์ 2 ชั้น คือ ผนังเซลล์ด้านใน (endocyst walls) และผนังเซลล์ด้านนอก (ectocyst walls) ทำให้การทำลายเชื้อในระยะดังกล่าวจึงทำได้ยาก ดังนั้นงานวิจัยต่าง ๆ จึงมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับเชื้ออะแคนทามีบาในระยะซีสต์ แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีตัวอย่างการประดิษฐ์สูตรอาหารสำหรับกระตุ้นการเข้าสู่ระยะซีสต์โดยสมบูรณ์ (mature cysts) ของเชื้ออะแคนทามีบา เนื่องจากระยะเวลาที่ยาวนานในการกระตุ้นให้เชื้ออะแคนทามีบาเข้าสู่ระยะซีสต์ รวมทั้งซีสต์ที่ได้อาจไม่มีความสมบูรณ์ (immature cyst)

เทคโนโลยี

งานวิจัยนี้ เป็นการคิดค้นสูตรอาหารเลี้ยงเชื้ออะแคนทามีบาให้เข้าสู่ระยะซีสต์ ซึ่งประกอบด้วยสารต่างๆที่ทางทีมวิจัยได้มีการทดสอบเรียบร้อยแล้ว โดยนำสารทั้งหมดมาผสมกันในน้ำ สูตรอาหารเลี้ยงเชื้ออะแคนทามีบาให้เข้าสู่ระยะซีสต์ที่ได้ จะเป็นซีสต์ที่มีความสมบูรณ์ (mature cysts)

ชื่อนักวิจัย / สำนักวิชา

ชื่อนักวิจัย รศ.พญ.วีระนุช นิสภาธร
สำนักวิชา สหเวชศาสตร์

ประเภททรัพย์สินทางปัญญา

อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ 2103000904

ข้อดี / จุดเด่น

  1. ใช้ระยะเวลาสั้นในการกระตุ้นอะแคนทามีบาให้เข้าสู่ระยะซีสต์
  2. ทำให้วิเคราะห์โรคได้รวดเร็ว
  3. ลดการสูญเสียการวินิจฉัยที่ผิดพลาดหรือล้าช้า ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณรูปภาพจากเว็บไซต์ www.pexels.com

Scroll to Top