
วันที่ : 29 พฤศจิกายน 2567
สถานที่ : ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
จัดโดย : อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อ่านเพิ่มเติม : https://www.wu.ac.th/th/news/
เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลงนามในสัญญามอบทุนสนับสนุนให้แก่ผู้ประกอบการนวัตกรรม “โครงการขยายผลธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ในภูมิภาคใต้ (Market Expansion) ปีงบประมาณ 2567” ร่วมกับผู้บริหารสถานประกอบการนวัตกรรม ภาคเอกชน จำนวน 12 โครงการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 15 ล้านบาท ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อขับเคลื่อนการขยายผลธุรกิจนวัตกรรมของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภูมิภาคภาคใต้ โดยมี ผศ.ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้บริหารสถานประกอบการ ร่วมลงนามเป็นพยาน ณ ห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา
การลงนามสัญญามอบทุนในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากม.วลัยลักษณ์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้กลไกการสนับสนุนโครงการนวัตกรรม “โครงการยุทธศาสตร์นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการขยายผลธุรกิจนวัตกรรมของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาคภาคใต้” จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อขับเคลื่อนการขยายผลธุรกิจนวัตกรรมของพื้นที่ SEC และเพื่อประเมินมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นจากการสนับสนุนโครงการนวัตกรรมดังกล่าว ได้แก่ จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช โดยคณะกรรมการของโครงการฯ ได้พิจารณาอนุมัติงบประมาณสนับสนุนทุน ให้แก่ผู้ประกอบการนวัตกรรม จำนวน 12 โครงการ งบประมาณสนับสนุนรวมทั้งหมด 15 ล้านบาท มูลค่าการลงทุนโครงการทั้งหมด 27,135,122.50 บาท
รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ กล่าวว่า กิจกรรมในวันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการขยายผลธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการและวิสาหกิจฐานนวัตกรรม ใน 2 สาขาเป้าหมาย คือ 1) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร และ 2) สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness) ที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ และบูรณาการความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้เชี่ยวชาญและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อการเติบโตทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
สำหรับ 12 สถานประกอบการที่ร่วมลงนามสัญญาดังกล่าว ประกอบด้วย
1. บริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด “โครงการระบบน้ำร้อนและระบบปรับอากาศประหยัดพลังงานสำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,485,561.25 บาท
2. ห้างหุ้นส่วนจํากัด เค.พี.เอส. ออโตเมชั่น แอนด์ เซอร์วิส “โครงการบริการเครื่องคั่วเมล็ดโกโก้ระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี AI” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,200,000 บาท
3. บริษัท บี ไอ จี เนเชอรัล อินโนเทค จํากัด “โครงการบริการอาหารโปรตีนจากพืชครบวงจรสําหรับธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 952,000.00 บาท
4. มูลนิธิสถาบันทรัพยากรชายฝั่งแห่งเอเชีย “โครงการเรือยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,500,000.00 บาท
5. บริษัท ดันไทร กรุ๊ป จำกัด “โครงการ Dansai Group : ระบบตรวจติดตามมาตรฐาน สุขอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,500,000.00 บาท
6. บริษัท ดีพวิชั่น จำกัด “โครงการ DEEPVISION : แพลตฟอร์มช่วยคัดเกรดปาล์มน้ำมันด้วยเอไออัจฉริยะ” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,000,000.00 บาท
7. บริษัท วลัยไบโอคอนโทรล จำกัด “โครงการบริการชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช “วลัยไตรโค-009” ในระบบเกษตรปลอดภัย” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,460,000.00 บาท
8. บริษัท ดีเค สตาร์ทอัพ จำกัด “โครงการแพลตฟอร์มโฆษณาและบริการกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยวและกลุ่มธุรกิจ MICE” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,500,000.00 บาท
9. บริษัท บ้านอินนอฟ จํากัด “โครงการการบริการใช้เทคโนโลยีไมโครเวฟสําหรับธุรกิจอบแห้งอาหารและสินค้าเกษตร” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 900,000.00 บาท
10. บริษัท นิวทรีชั่น เอ็กซ์เปอร์ตส์ จำกัด “โครงการ RECALTM : โปรแกรมลดน้ำหนักด้วยผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหารเพื่อควบคุมหรือลดน้ำหนักสูตรครบถ้วนโปรตีนสูง” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,400,000.00 บาท
11. ห้างหุ้นส่วนจำกัด มอร์เกท เซ็นเตอร์ “โครงการเเพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR)” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,000,000.00 บาท
12. บริษัท เอส.พี.เอ. คอมพิวเตอร์ จำกัด “โครงการระบบสมาร์ทฟาร์มการจัดการกระบวนการผลิตมังคุดนอกฤดู” ได้รับทุนสนับสนุนมูลค่า 1,100,000.00 บาท