การประชุมระดมสมอง Focus group โครงการ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค พ.ศ. 2566 – 2570”

การประชุมระดมสมอง Focus group โครงการ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค พ.ศ. 2566 – 2570”

Focus group

การประชุมระดมสมอง Focus group โครงการ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค พ.ศ. 2566 – 2570” (กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน)
ในวันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน 2565 เวลา 08.00 – 12.00น.  การประชุมทางไกลออนไลน์ (Zoom Cloud Meeting)
ถ่ายทอดสดจากห้องประชุมเขาหลวง อาคารสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

           กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) อันประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ได้มีการลงนาม “บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค” เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแผนยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจสำหรับภาคเอกชนในพื้นที่ให้มีทิศทางภารกิจและบทบาทไปในทางเดียวกัน และสอดคล้องกับแผนพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่ดำเนินการทั่วประเทศ กรอบและแนวทางการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงฯ กำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน 3 ระดับ โดยในระยะ 6 เดือนแรกหลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ กำหนดพื้นที่นำร่องในระดับต่าง ๆ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับภูมิภาค จำนวน 17 แผน ได้แก่ ระดับภาคจำนวน 5 แผน ระดับกลุ่มจังหวัดจำนวน 6 แผน และระดับจังหวัดจำนวน 6 แผน
           รองศาสตราจารย์ ดร. ศราวุธ ปาลิโภชน์ รักษาการแทนรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวเปิดงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับมอบหมายจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชนระดับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน จำนวน 1 แผน โดยการจัดประชุมระดมความเห็นกลุ่มย่อย (Focus Group) ในพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมการ กกร. ในระดับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน เพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการที่แท้จริงของภาคเอกชนในพื้นที่ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ศักยภาพและโอกาส ข้อจำกัดและประเด็นท้าทาย รวมถึงโครงการที่ต้องการให้เกิดขึ้นใน 5 ปี โดยมุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจทั้งปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประชุมรับฟังความคิดเห็นและวิพากษ์แผน ร่วมกับคณะกรรมการ กกร. ในระดับกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้ได้แผนที่มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ สามารถนำไปใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที

Scroll to Top