เปิดรับสมัครเข้าร่วมโครงการ แผนงานพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and technology Capacity Development Program : IRTC) 2568

เปิดรับสมัครโครงการ

Industrial Research and technology Capacity Development Program : IRTC 2568

แผนงานพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่

รับสมัครตั้งแค่บัดนี้ ถึง 31 ธันวาคม 2568

Days
Hours
Minutes
Seconds

ตามที่ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินงาน “แผนงานการพัฒนาขีด ความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (Industrial Research and technology Capacity Development Program : IRTC)” เพื่อเป็นกลไกสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา และ ภาคเอกชน ผลักดันให้เกิดการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ ตลอดจนเพิ่มขีด ความสามารถ ในการแข่งขันของภาคเอกชน อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงประกาศขอเชิญชวนผู้ที่สนใจส่งข้อเสนอ โครงการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ (IRTC) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2568

ลักษณะทั่วไปของโครงการวิจัย

  • ต้องเป็นโครงการวิจัยที่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดนวัตกรรมในการพัฒนา ประสิทธิภาพกระบวนการผลิต พัฒนาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล การเพิ่มกำลังการผลิต การลดต้นทุนในการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้สามารถเข้าสู่การแข่งขันในตลาดการค้าสากลได้อย่างเข้มแข็ง 
  • ต้องเป็นโครงการวิจัยที่เชื่อมโยงความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและผู้ประกอบการที่ต้องการ พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานตนเอง โดยมีงบสนับสนุนไม่เกินโครงการละ 200,000 บาท 
  • ภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการต้องสนับสนุนเงินทุน (In-cash) หรือทรัพยากรที่จำเป็น (In-kind) โดย คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโครงการ

คุณสมบัติของผู้เสนอขอรับทุนอุดหนุนการวิจัย

ผู้ขอรับทุนสามารถปฏิบัติงานและควบคุมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับทุนรวมทั้งสามารถ
ดำเนินการวิจัยให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพ

ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ

ไม่เกิน 10 เดือน

คุณสมบัติของผู้สมัคร

เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด สหกรณ์การเกษตร วิสาหกิจ ชุมชน อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และต้องมีคนไทยถือหุ้นหรือลงทุนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 51

เป็นองค์กรที่มีความมุ่งมั่นจะแก้ปัญหาและพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีการผลิต และมีความพร้อม ด้านบุคลากร การเงิน และการจัดการในระดับพื้นฐานที่จะดำเนินโครงการปรับปรุงหรือพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต

ผู้ประกอบการแต่ละรายสามารถเข้าร่วมโครงการและรับการสนับสนุนได้ปีละ 1 โครงการ ติดต่อกัน ไม่เกิน 3 ปี

การสนับสนุน

  • ผู้เข้าร่วมเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย ไม่จำกัดทุนจดทะเบียนของบริษัท
  • วินิจฉัยปัญหาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • สนับสนุนค่าใช้จ่ายสูงสุด 50% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ได้แก่ ค่าตอบแทนผู้เชี่ยวชาญ และคณะทำงาน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และอื่นๆ (ยกเว้น ค่าครุภัณฑ์ เครื่องจักร)
  • เอกชนลงทุนนอกเหนือจากเงินสดได้บางส่วน เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง
  • รับการสนับสนุนปีละ 1 โครงการ และไม่เกิน 3 ปีติดต่อกัน

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.
การประชาสัมพันธ์และการรับสมัคร

รอบที่ 1 : กันยายน-ตุลาคม
รอบที่ 2 : พฤศจิกายน-ธันวาคม
รอบที่ 3 : มกราคม-กุมภาพันธ์

2.
การเยี่ยมชมสถานประกอบการและวิเคราะห์เบื้องต้น
3.
การพัฒนาข้อเสนอโครงการร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ
4.
พิจารณาและคัดเลือกข้อเสนอโครงการโดยคณะกรรมการ
5.
อนุมัติโครงการ
6.
จัดทำบันทึกข้อตกลงและเริ่มดำเนินโครงการ
7.
จัดทำรายงานความก้าวหน้าและติดตามประเมินผล
8.
จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และประเมินปิดโครงการ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทีนี่

นายสุธิพงศ์ วรรณปทุมจินดา (เป้)
0 7567 7205         
s.wanpathumjinda@wu.ac.th

Scroll to Top