อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง (RSP Knowledge Sharing 2024)

อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ม.วลัยลักษณ์ ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง (RSP Knowledge Sharing 2024)

RSP Knowledge Sharing 2024

วันที่ : 29-31 พฤษภาคม 2567 
สถานที่ : ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จ.สงขลา)
จัดโดย : อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ (จ.สงขลา)
อ่านเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/walailak.sciencepark/

ผศ.ดร.อนุรักษ์ ถุงทอง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง (RSP Knowledge Sharing 2024) ซึ่งจัดโดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของบุคลากรอุทยานวิทยาศาสตร์
ซึ่งในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงาน โดยมีข้าราชการและเจ้าหน้า กปว. คณะผู้บริหารและบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4 แห่ง (RSP) และคณะผู้บริหารและบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ 16 มหาวิทยาลัย (USP) เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้ ภายในงานมี

  • กิจกรรมการเสวนาพิเศษหัวข้อ “ความจำเป็นเชิงพื้นที่ ต่อความเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง” โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่
    1. นางสาว เมลิน เชื้อมโนชาญ รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคเหนือ
    2. ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
    3. ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2
    4. ผศ.ดร.คำรณ พิทักษ์ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคใต้
  • กิจกรรม Workshop การประเมินความพร้อมของอุทยานวิทยาศาสตร์ต่อการเป็นอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทาง รวมถึงแนวทางการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับของภาคเอกชน พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้บริหารในการนำเสนอแผนที่ได้จากการทำ workshop
  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อ “แนวทางการดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์เฉพาะทางในต่างประเทศ” โดย Dr. André H.R. Domin, CEO Technologiepark Heidelberg
  • กิจกรรมศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ บริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ จำกัด ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โพลียูรีเทนเจลยางพารา ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการใช้บริการอุทยานฯ
Scroll to Top