แฟ้มผลงานวิจัยของ ม. วลัยลักษณ์และกระบวนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย์ได้รวบรวมข้อมูลผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่พร้อมใช้และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการเพื่อให้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเพื่อขอรับคำปรึกษาหรือร่วมวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ผู้ประกอบการสามารถศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขั้นตอนการใช้บริการต่างๆได้จากเมนูด้านล่างนี้

  1. การประชาสัมพันธ์ เมื่อนักวิจัยสร้างงานวิจัยออกมา นักวิจัยอาจจะยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญา ผ่านงานคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา หรือนักวิจัยพิจารณาแล้วอาจจะไม่ขอรับความคุ้มครองใดๆ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนักวิจัย แต่งานถ่ายทอดเทคโนโลยี จะนำงานวิจัยซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ มหาวิทยาลัยทำการประชาสัมพันธ์ออกสู่ตลาดงานวิจัย เพื่อให้ผู้ประกอบการรับรู้รับทราบและเข้าถึง เทคโนโลยีได้
  2. การจับคู่ธุรกิจ เมื่อผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงงานวิจัยได้ จะทำให้เกิดการจับคู่ธุรกิจที่เหมาะสมระหว่างผู้ ประกอบกับผลงานวิจัย หมายถึงเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยนั้น สามารถนำไปช่วยแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา กระบวนการต่างๆ ได้ หรือเทคโนโลยีนั้นสามารถนำไปสร้างธุรกิจใหม่ได้
  3. การบอกเล่าเทคโนโลยีในภาพรวม เจ้าของเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการนัดพบปะเพื่อพูดคุยเล่าเรื่องข้อมูล เทคโนโลยีนั้นในภาพรวม แต่ในบางประเด็นอาจจะมีการลงรายละเอียดในเชิงลึก ซึ่งต้องประเมินว่าข้อมูลใน เชิงลึกนั้น จะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ทางฝ่ายใดเสียหายได้หรือไม่ หากมีประเด็น ทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำสัญญา ปกปิดความลับไว้ให้เรียบร้อย (Non-Disclosure Agreement : NDA) เพื่อป้องกันการนำข้อมูลไปเผยแพร่ หรือนำข้อมูลไปใช้โดยที่ยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  4. การเจรจาต่อรองในรายละเอียด หลังจากทำความรู้จักกับเทคโนโลยีในภาพรวมแล้ว ต่อมาเจ้าของเทคโนโลยี กับผู้ประกอบการ จะพูดคุยข้อมูลในทุกประเด็นเพื่อให้มั่นใจว่าเทคโนโลยีนั้นว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ จริง ซึ่งฝ่ายเจ้าของเทคโนโลยีอาจจะต้องส่งมอบวัสดุให้ทางผู้ประกอบการนำไปทดลองผลิต ซึ่งจะป้องกันการ นำวัสดุไปใช้นอกเหนือวัตถุประสงค์ ด้วยการทำสัญญาถ่ายโอนวัสดุ (Material Transfer Agreement: MTA) ซึ่งจะระบุวัตถุประสงค์การนำวัสดุไปใช้ไว้รวมถึงการจัดการกับวัสดุที่เหลืออย่างชัดเจน ช่วงการเจรจาอาจจะ มีการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) ให้ผู้ประกอบการเห็นผลิตภัณฑ์จริง พร้อมทั้งพิสูจน์เทคโนโลยีที่ได้ จากงานวิจัยว่าเป็นไปตามผลการวิจัยหรือไม่ (Proof of Technology) หรือการผลิตในปริมาณที่มากขึ้นอีก ระดับเพื่อทดสอบว่าเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยนั้นยังคงมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการผลิตในปริมาณน้อยๆ หรือไม่ ซึ่งจะมีสัญญาพิสูจน์เทคโนโลยีระบุรายละเอียด เงื่อนไขต่างๆไว้ และประการสำคัญคือการเจรจา ต่อรองค่าผลตอบแทนให้กับเจ้าของเทคโนโลยี อายุสัญญา เงื่อนไขต่างๆ ของสัญญา การเจรจาอาจจะใช้เวลา น้อยครั้งหรือหลายครั้งนั้น มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ทั้งประเภทของเทคโนโลยี ทั้งผู้ประกอบการ รวมทั้งนักวิจัยเองด้วย
  5. การสรุปข้อตกลง หลังจากเจรจาจนได้ข้อสรุป TLO จะทำบันทึกข้อตกลงที่ได้ตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นการตกลง ในเบื้องต้น ซึ่งจะลงนามโดย ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ทรัพย์สินทางปัญญางานถ่ายทอดเทคโนโลยี นักวิจัย ผู้ประกอบการ เพื่อเสนอให้มหาวิทยาลัยพิจารณา
  6. เสนอกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาพิจารณา TLO จัดทำร่างสัญญา เสนอที่ประชุมคณะกรรมการทรัพย์สิน ทางปัญญา เพื่อพิจารณาสัญญาฉบับ
  7. การทำสัญญา เมื่อร่างสัญญาผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว งานถ่ายทอด เทคโนโลยี ดำเนินการจัดทำสัญญา และเสนอผู้มีอำนาจของทั้งสองฝ่ายลงนาม และนำสู่งานบริหารสัญญาต่อไป คือการจัดเก็บ ค่าตอบแทนและดูแลให้นักวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ตามที่ได้ตกลงกัน
พี่แจ๊ส

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คุณแสงนภา ตันสกุล (แจ๊ส)
0 7567 2927 , 3575
tsangnap@mail.wu.ac.th

Scroll to Top