รูปแบบการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการพาณิชย์

เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

*หมายเหตุ : ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือ Click

รูปแบบการอนุญาตที่แตกต่างกัน ส่งผลถึงเงื่อนไขและค่าผลตอบแทนที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง การอนุญาตให้ใช้สิทธิมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ดังนี้

1. การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing)

ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ไม่มีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวในอาณาเขตที่กำหนด

2. อนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing)

ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าว แต่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิให้ผู้อื่น หรือตนเองใช้สิทธิดังกล่าวในอาณาเขตได้อีกด้วย

3. การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing)

ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวได้ในอาณาเขต แต่ไม่สามรถให้สิทธิแก่บุคคลอื่นอีกได้ (WONDER.LEGAL, 2562)

              สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เน้นถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing) เนื่องจากประสงค์ให้ผู้ประกอบการทุกคนมีโอกาสเข้าถึงและได้ใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย มากกว่าการให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing) ซึ่งจะเกิดการผูกขาด เว้นแต่เทคโนโลยีนั้นเหมาะกับการให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวจริง ๆ เท่านั้น

การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา

ค่าตอบแทนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี มาจากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา แนวทางในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสรุปได้ 3 แนวทาง ดังนี้

1. การประเมินมูลค้าจากต้นทุน (Cost approach)

การประเมินมูลค้าจากต้นทุนของทรัพย์สินทางปัญญา เป็นการนำเอาต้นทุนจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นมูลค้าของสิ่งประดิษฐ์ สินค้า บริการหรือแบรนด์ของสินค้า ตั้งแต่ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงต้นทุนจากค้าแรง ค่าบุคลากร ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้นทุนการจัดทำต้นแบบสินค้า บริการ ต้นทุนการทดสอบและทดลอง ตลอดจนต้นทุนการดำเนินการทางกฎหมาย เช่น การออกใบอนุญาต เป็นต้น ทั้งนี้การประเมินมูลค้าจากต้นทุนมีความเหมาะสมกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีในช่วงแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งแนวทางในการประเมินมูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการวิเคราะห์จากต้นทุนดังกล่าว เป็นวิธีการที่ง่ายกว่าแนวทางการประเมินอื่น ๆ หากแต่ มูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จะไม่สะท้อนมูลค่า ที่จะทำให้เกิดประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างแท้จริง

2. การประเมินมูลค้าจากการเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach)

การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาตลาด คือ การประเมินมูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาของ ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่มีการซื้อขายหรือให้เช่าในตลาด วิธีการดังกล่าวค่อนข้าง ยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ค่อนข้างเป็นความลับ ไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้ยากต่อ การเปรียบเทียบคุณลักษณะเพื่อประเมินมูลค้า และข้อจำกัดอีกประการ คือ หากผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว เป็นลักษณะที่มีความเฉพาะตัว (niche market) การหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบมีความเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น วิธีการ ประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการเปรียบเทียบราคาตลาดจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

3. การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาจากรายได้ (Income approach)

การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีนี้ เป็นการประเมินจากกระแสรายได้ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการถือครองทรัพ์สินทางปัญญา ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในวงการธุรกิจ เพราะสะท้อนผลตอบแทนที่จะเกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าวิธีการประเมินจากต้นทุน รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมินมูลค้าเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนธุรกิจอยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการประเมิน ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินดังกล่าว อาจประกอบด้วย จำนวนรวมของกระแสรายได้ในอนาคต อัตราการเติบโตหรืออัตราการเสื่อมของกระแสรายได้ในอนาคต รวมทั้งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญของการประเมินมูลค้าจากรายได้ คือความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้มูลค้าที่ได้มีความแกว้งตัวสูงกว่าการประเมินจากต้นทุน ดังนั้นการประเมินมูลค้าจากรายได้จึงจำเป็น ต้องคิดจากมูลค้าทางรายได้ที่เป็นปัจจุบัน (Net present value) (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2562)้่

            สำหรับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ไม่ได้ยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่งตายตัว แต่เป็นการผสมผสานทั้ง 3 แนวทาง โดยพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป ตามความเหมาะสม โดยพิจารณารอบด้าน ทั้งศักยภาพในตลาดของเทคโนโลยี และศักยภาพของผู้ประกอบการว่าเป็นผู้ประกอบการรายใหม่หรือผู้ประกอบการที่มีดำเนินธุรกิจมาระยะหนึ่งแล้ว หรือผู้ประกอบการรายใหญ่ เพราะการรับเทคโนโลยีคือการลงทุนอย่างหนึ่ง การลงทุนย่อมมาคู่กับความเสี่ยงเสมอ