กระบวนการจดทะเบียนสิทธิบัตรและFAQs

เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

*หมายเหตุ : ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือ Click

กระบวนการการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กระบวนการ 1 การให้บริการคำแนะนำและการประเมินเบื้องต้น

  1. ติดต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) เพื่อให้ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์เบื้องต้น ประเมินและเลือกประเภทความคุ้มครองให้เหมาะสม รวมถึงรับทราบกระบวนการโดยสังเขป

  2. เมื่อเลือกประเภทความคุ้มครองที่เหมาะสมได้แล้ว TLO แนะนำการกรอกแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลฯ (แบบ พร้อมแนะนำวิธีการเตรียมเอกสารประกอบอื่นๆ ตลอดจนตัวอย่างเพื่อใช้เป็นแนวทาง

กระบวนการ 2 การยื่นคำขอจดทะเบียน

  1. แจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา ให้ผู้ประดิษฐ์กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลฯ (แบบ TLO-00) แนบร่างรายละเอียดการประดิษฐ์ พร้อมด้วยหลักฐานประกอบอื่นๆตามที่แจ้งไว้ในแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลฯ ส่งผ่านหน่วยงานต้นสังกัด ถึง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อวท)

  2. ตรวจสอบเบื้องต้น  หลังจากที่ผู้ประดิษฐ์แจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาแล้วเจ้าหน้าที่ TLO จะตรวจสอบเนื้อหาและองค์ประกอบของรายละเอียดการประดิษฐ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจะส่งกลับไปผู้ประดิษฐ์แก้ไข และส่งกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง 

  3. จัดทำเอกสารคำขอและเสนอลงนาม  เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดแล้วเจ้าหน้าที่ TLO จะจัดทำเอกสารคำขอและเอกสารประกอบอื่นๆ เสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงนาม 

  4. ยื่นขอรับความคุ้มครอง  หลังจากที่เอกสารครบถ้วนแล้วจะนำไปยื่นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือยื่นทางไปรษณีย์ เมื่อได้ข้อมูลเลขที่คำขอแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะแจ้งให้ผู้ประดิษฐ์ทราบ

  5. การพิจารณาโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา  เมื่อคำขอเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วจะมีหนังสือแจ้งมายัง TLO ให้ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งได้รับจดทะเบียน เมื่อคำขอฯได้รับจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะแจ้งให้ผู้ประดิษฐ์ทราบ

#gallery-1 {
margin: auto;
}
#gallery-1 .gallery-item {
float: left;
margin-top: 10px;
text-align: center;
width: 100%;
}
#gallery-1 img {
border: 2px solid #cfcfcf;
}
#gallery-1 .gallery-caption {
margin-left: 0;
}
/* see gallery_shortcode() in wp-includes/media.php */


FAQs ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร

การได้มาซึ่งความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : ความคุ้มครองในสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรตามกฎหมายไทย พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 นั้นจะต้องได้รับการจดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น

สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้ ต้องมีลักษณะอย่างไร ?

ตอบ :   กรณี สิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะต้อง เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้

กรณี อนุสิทธิบัตร จะต้อง เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้

การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ หมายความว่าอย่างไร ?

ตอบ :   ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว หรือที่มีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้ว รวมทั้งงานที่มีการเผยแพร่รวมถึงมีการเปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์ในเอกสารหรือสื่งพิมพ์ในที่ต่างๆ มาแล้ว เว้นแต่การเผยแพร่นั้นจะเป็นไปเพื่อสาธารณะประโยชน์ในงานที่จัดขึ้นโดยรัฐฯ

การประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น หมายความว่าอย่างไร ?

ตอบ :   ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น หมายความว่าไม่เป็นขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สามารถทำได้ง่าย โดยผู้พบเห็นทั่วไป หรืออาจพูดได้ว่า มีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ที่มีมาก่อน

การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม หมายความว่าอย่างไร ?

ตอบ :   ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมนั้นจะต้องสามารถทำซ้ำเป็นจำนวนมากเพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ได้

สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรไม่ได้ มีอะไรบ้าง ?

ตอบ : สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ มีดังนี้

  • จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
  • กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • ระเบียบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์
  • การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

กรณีที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานวิจัยขึ้นและสามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้ สิทธิในสิทธิบัตรจะเป็นของใคร? ผู้ประดิษฐ์จะมีชื่อในสิทธิบัตรหรือไม่? และจะมีสิทธิได้รับผลประโยชย์หรือไม่ ?

ตอบ : 1) กรณีที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานวิจัยขึ้นและสามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้ สิทธิในสิทธิบัตรจะเป็นของใคร แบ่งออกเป็นกรณีได้ดังนี้

  • กรณีเป็นผลงานจากการดำเนินการโดยมีสัญญารับทุนจากภายนอก จะต้องเป็นตามสัญญาโดยสิทธิอาจเป็นผู้ให้ทุน หรือผู้รับทุน หรือเป็นสิทธิร่วมกันซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
  • กรณีเป็นผลงานจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ โดยไม่มีสัญญาอื่นใดมาเกี่ยวข้องให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบฯ

2) ผู้ประดิษฐ์จะมีชื่อในสิทธิบัตรในฐานะที่เป็นผู้ประดิษฐ์บนเอกสารสิทธิบัตร หากมีผู้ประดิษฐ์ร่วมกันหลายท่าน ชื่อแรกที่ปรากฏจะเป็นชื่อผู้ประดิษฐ์ที่มีส่วนร่วมในการประดิษฐ์มากที่สุดต่อท้ายด้วยคำว่า “และคณะ”

3) กรณีที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานวิจัยขึ้นและสามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้จะมีสิทธิได้รับผลประโยชย์เมื่อมีการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และมีการได้รับผลประโยชน์เกิดขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบฯ

ถ้าบุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องการจะขอรับความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร จะต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : ขั้นตอนการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 กระบวนการ ดังนี้

กระบวนการ 1 การให้บริการคำแนะนำและการประเมินเบื้องต้น

1.ติดต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) เพื่อให้ข้อมูลสิ่งประดิษฐ์เบื้องต้น ประเมินและเลือกประเภทความคุ้มครองให้เหมาะสม รวมถึงรับทราบกระบวนการโดยสังเขป

2.เมื่อเลือกประเภทความคุ้มครองที่เหมาะสมได้แล้ว TLO แนะนำการกรอกแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลฯ (แบบ พร้อมแนะนำวิธีการเตรียมเอกสารประกอบอื่นๆ ตลอดจนตัวอย่างเพื่อใช้เป็นแนวทาง

กระบวนการ 2 การยื่นคำขอจดทะเบียน

1.แจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา  ให้ผู้ประดิษฐ์กรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลฯ (แบบ TLO-00) แนบร่างรายละเอียดการประดิษฐ์ พร้อมด้วยหลักฐานประกอบอื่นๆตามที่แจ้งไว้ในแบบฟอร์มแจ้งข้อมูลฯ ส่งผ่านหน่วยงานต้นสังกัด ถึง ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อวท)

2.ตรวจสอบเบื้องต้น  หลังจากที่ผู้ประดิษฐ์แจ้งข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาเข้ามาแล้วเจ้าหน้าที่ TLO จะตรวจสอบเนื้อหาและองค์ประกอบของรายละเอียดการประดิษฐ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจะส่งกลับไปผู้ประดิษฐ์แก้ไข และส่งกลับมาตรวจสอบอีกครั้ง 

3.จัดทำเอกสารคำขอและเสนอลงนาม  เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าข้อมูลเป็นไปตามข้อกำหนดแล้วเจ้าหน้าที่ TLO จะจัดทำเอกสารคำขอและเอกสารประกอบอื่นๆ เสนอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องลงนาม 

4.ยื่นขอรับความคุ้มครอง  หลังจากที่เอกสารครบถ้วนแล้วจะนำไปยื่นที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือยื่นทางไปรษณีย์ เมื่อได้ข้อมูลเลขที่คำขอแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะแจ้งให้ผู้ประดิษฐ์ทราบ

5.การพิจารณาโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา  เมื่อคำขอเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้วจะมีหนังสือแจ้งมายัง TLO ให้ดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งได้รับจดทะเบียน เมื่อคำขอฯได้รับจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่ TLO จะแจ้งให้ผู้ประดิษฐ์ทราบ

รายละเอียดการประดิษฐ์สำหรับคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรนั้น จะต้องประกอบไปด้วยหัวข้ออะไรบ้าง ?

ตอบ :   กรณี สิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร จะประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้

  • ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ (เป็นการแสดงให้ทราบว่าการประดิษฐ์นี้เป็นการประดิษฐ์เกี่ยวกับอะไร สามารถสื่อถึงการประดิษฐ์ได้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ และไม่ใช้คำอวดอ้าง คำโฆษณา หรือชื่อทางการค้า)
  • ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ (ระบุถึงลักษณะทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่ได้คิดขึ้นโดยย่อรวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์ดังกล่าว โดยอาจแบ่งออกเป็นสองย่อหน้า คือ ย่อหน้าแรกเกี่ยวกับลักษณะของการประดิษฐ์โดยย่อโดยเฉพาะในส่วนของเทคนิคที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา และย่อหน้าที่สองกล่าวถึงความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ในแง่การนำไปใช้ประโยชน์ การได้รับประโยชน์ในเชิงพาณิชย์)
  • สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ (ระบุว่าอยู่ในเทคโนโลยีหรือสาขาวิทยาการใด เช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิทยาศาสตร์การอาหาร ฯลฯ หรือหากไม่ชัดเจนว่าจะอยู่ในสาขาใด ก็อาจระบุในลัฏษณะที่เป็นวิทยาการเฉพาะของการประดิษฐ์นั้นๆก็ได้ เช่น วิศวกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ(ระบุชื่อสิ่งประดิษฐ์)
  • ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (จะต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนแล้วรวมถึง ข้อจำกัด ข้อบกพร่อง หรือปัญหาทางเทคนิคที่เกิดขึ้น อันทำให้ผู้ประดิษฐ์เกิดความคิดต้องการแก้ไขปัญหาดังกล่าวพร้อมทั้งข้อบกพร่องต่างๆนั้น โดยช่วงแรกอาจบรรยายถึงลักษณะของการประดิษฐ์นั้นๆ ที่มีอยู่เดิมรวมถึงอธิบายเรื่องทั่วไปและเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ ควรอ้างถึงสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรใกล้เคียงกันที่มีอยู่ก่อนหน้าเพื่อเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาเหล่านั้นด้วยการประดิษฐ์ของเรา)
  • การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ (เป็นการบรรยายถึงรายละเอียดของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรว่ามีลักษณะโครงสร้าง องค์ประกอบ ขั้นตอนต่างๆ ผลดีของการประดิษฐ์ ตลอดจนตัวอย่างที่จะแสดงถึงการประดิษฐ์นั้นๆ และผลการทดลอง ทดสอบเปรียบเทียบ (ถ้ามี) โดยสมบูรณ์ และชัดแจ้งพอที่จะทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญในศิลปวิทยาการนั้นๆ สามารถเข้าใจในการประดิษฐ์ และสามารถปฏิบัติตามได้ โดยใช้คำศัพท์ที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิทยาการ หรือถ้าใช้คำศัพท์ที่ไม่เป็นไปตามที่เข้าใจกันทั่วไปให้นิยามความหมายด้วย ควรเริ่มอธิบายจากภาพรวมไปยังภาพย่อย แล้วจึงกล่าวถึงรายละเอียดปลีกย่อยของการประดิษฐ์ กรณีมีรูปเขียนให้อธิบายตามการเรียงลำดับของรูปเขียน ทั้งนี้ ต้องมีรายละเอียดเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าการประดิษฐ์สามารถทำงานได้จริง  ถ้อยคำที่ใช้ต้องเหมือนกันตลอดทุกส่วนของคำขอ)
  • คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ(ถ้ามี) (เป็นการระบุถึงรูปเขียนที่ที่แนบมากับคำขอ โดยระบแต่เพียงว่าแต่ละรูปเขียนแสดงถึงส่วนใดหรือลักษณะของการประดิษฐ์นั้นๆเท่านั้น เช่น

      รูปที่ 1 แสดงภาพสามมิติของการประดิษฐ์นี้ลักษณะที่ 1

      รูปที่ 2 แสดงภาพตัดตามแนว 2-2 ของรูปที่ 1

  • วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด (กรณีที่กล่าวถึงรายละเอียดทั้งหมดไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ ให้ใช้ข้อความว่า “เหมือนกับได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์”)
  • รูปเขียน(ถ้ามี) (กรณีที่รูปเขียนทำให้สามารถเข้าใจการประดิษฐ์ได้ดีขึ้น ต้องจัดทำรูปเขียนที่เขียนตามหลักวิชาการเขียนแบบ รูปเขียนหมายความรวมถึงแผนภูมิและแผนผังด้วย ลูกศรชี้และมีหมายเลขแสดงชิ้นส่วน โดยมักจะลำดับรูปเขียนโดยเริ่มจากรูปที่แสดงทั้งระบบ ก่อนตามด้วยรูปที่สำพันธ์ลำดับต่อมา)
  • ข้อถือสิทธิ (ต้องระบุถึงลักษณะทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ประสงค์จะขอรับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ ต้องชัดแจ้ง รัดกุม รวมทั้งต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์ โดยระบุเป็นข้อๆ ให้ชัดเจนว่าเป็นการประดิษฐ์อะไร มีสูตรและกรรมวิธีการประดิษฐ์ ลักษณะเฉพาะของผลิตภัณฑ์ เทคนิคหรืออุปกรณ์ และการนำไปใช้อย่างสัมพันธ์กัน)
  • บทสรุปการประดิษฐ์ (สรุปสาระสำคัญทางเทคนิคของการประดิษฐ์ เพื่อให้เข้าใจได้ โดยสรุปว่าการประดิษฐ์ดังกล่าวคืออะไร ใช้ทำอะไร อธิบายส่วนประกอบสำคัญและการทำงาน แต่ต้องไม่อ้างถึงส่วนอื่นของคำขอ และมีถ้อยคำไม่เกิน 200 คำ)

รูปเขียน สำหรับใช้ประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ต้องมีลักษณะอย่างไร ? ใช้ภาพถ่ายได้หรือไม่ ?

ตอบ : ภาพถ่ายไม่สามารถใช้ประกอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้ ผู้ขอจะต้องใช้รูปเขียนซึ่งเขียนโดยใช้อุปกรณ์และเป็นไปตามหลักการเขียนแบบ และมีข้อกำหนดอื่นๆ คือ

  • ไม่มีคำบรรยายหรือข้อความใดใด เว้นแต่ลำดับรูปเขียน
  • ใช้หมึกที่สามารถทนอยู่ได้นาน มีสีดำเข้ม เป็นเส้นเรียบและหนาเท่ากันตลอด ห้ามระบายสีอื่น
  • เขียนหมายเลขและเส้นอ้างอิงให้ชัดเจนและเข้าใจได้โดยง่าย ไม่ใช้วงเล็บ วงกลม อัญประกาศ ประกอบหมายเลข
  • มีสัดส่วนที่ถูกต้อง แต่ไม่ต้องระบุสเกล เว้นแต่ในส่วนที่ต้องการแสดงรายละเอียดให้ชัดเจนเป็นพิเศษจะใช้สัดส่วนที่แตกต่างไปก็ได้
  • ไม่ใช้เครื่องหมายอ้างอิงอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์

ข้อถือสิทธิ คืออะไร ?

ตอบ : ข้อถือสิทธิเป็นส่วนที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ระบุถึงขอบเขตของการประดิษฐ์ที่ต้องการได้รับความคุ้มครอง เป็นการระบุถึงส่วนของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอต้องการสงวนสิทธิมิให้คนอื่นแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ หลักการทั่วไป คือ

  • ขอบเขตของการประดิษฐ์ที่ระบุในข้อถือสิทธิจะต้องไม่กว้างเกินไปกว่าที่ผู้ขอได้ทำการประดิษฐ์และที่ได้เปิดเผยในรายละเอียดการประดิษฐ์นั้น
  • ข้อถือสิทธิต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครองโดยชัดแจ้ง รัดกุม และสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์ ถ้าข้อถือสิทธิไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คำขอนั้นอาจถูกปฏิเสธได้
  • ลักษณะของถ้อยคำที่ใช้จะต้องชัดแจ้งและรัดกุม หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้จะต้องชัดเจน ห้ามใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือ เช่น ประมาณ ได้แก่ ขณะหนึ่ง ช่วง คล้าย เหล่านี้เป็นต้น

บทสรุปการประดิษฐ์ ต้องมีลักษณะอย่างไร ?

ตอบ : บทสรุปการประดิษฐ์ เป็นการสรุปสาระสำคัญของการประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผยไว้ในรายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิและรูปเขียน (เปรียบเทียบโดยถือว่ามีลักษณะเดียวกันกับการเขียน Abstract ของบทความ) โดยจะต้องชัดแจ้งและรัดกุมและมีถ้อยคำไม่เกิน 200 คำ

กรณีมีการสร้างผลงานวิจัยขึ้น จะไม่ขอรับสิทธิบัตรได้หรือไม่ ?

ตอบ :   1. ได้ เพราะผลการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นบางรายการ มีคุณสมบัติไม่ครบตามที่กฎหมายสิทธิบัตรกำหนด จึงจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรไม่ได้

  1. ได้ เพราะผลการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นบางรายการอาจจะเป็นประโยชน์กว่าถ้าไปขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเภท “ความลับทางการค้า”
  2. ได้ เพราะผลการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นบางรายการที่แม้จะได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรหากไม่มีการนำไปใช้ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ไม่สร้างมูลค่า

การจดสิทธิบัตรในไทยคุ้มครองไปถึงทุกประเทศทั่วโลกหรือไม่ ?

ตอบ : การจดสิทธิบัตรในไทยคุ้มครองได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากต้องการขอรับความประสงค์ขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ ขอให้ติดต่อ TLO เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานนั้น

ถ้าต้องการทราบว่าสิ่งที่เรากำลังจะไปขอจดทะเบียนเหมือนหรือคล้ายงานที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ? จะต้องทำอย่างไร ?

ตอบ : ควรมีทำการสืบค้นสิทธิบัตรก่อนวางแผนการจดทะเบียน สามารถทำได้โดย…คลิ๊กลิ้งแนะนำการสืบค้น…( หรือปรึกษา TLO เพื่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติม

ระหว่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับอนุสิทธิบัตร ควรเลือกความคุ้มครองเป็นประเภทไหนดี ?

ตอบ : ทั้งสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร มีข้อแตกต่างกันดังนี้คือ สิทธิบัตรจะต้องมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และมีอายุความคุ้มครองได้ถึง 20 ปี ขณะที่ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุความคุ้มครองได้ถึง 10 ปี และในส่วนของกระบวนการดำเนินการและพิจารณาตรวจสอบคำขอนั้น สิทธิบัตรการประดิษฐ์จะใช้เวลา 3-5 ปี ขณะที่ อนุสิทธิบัตรใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ดังนั้นผู้ที่ยื่นคำขอรับความคุ้มครองจึงสามารถเลือกรับความคุ้มครองได้ความประสงค์

ถ้ามีการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์ก่อนดำเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร จะยังสามารถขอขอจดทะเบียนได้อีกหรือไม่ ?

ตอบ : ได้ถ้าการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์/แสดงโปสเตอร์ในงานประชุม/งานแสดงสินค้านานาชาติ/งาน Expo/นำเสนอผลงานในงานประชุม /ออกสื่อต่างๆ นั้นอยู่ในงานที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้จัดขึ้น โดยจะต้องดำเนินการยื่นคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่จัดแสดง

ถ้าต้องการตีพิมพ์ผลงานและต้องการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร จะต้องดำเนินการอย่างไร ?

ตอบ : ควรดำเนินการเพื่อขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรให้ได้เลขที่คำขอ เรียบร้อยก่อนมีวันที่ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเพื่อไม่ให้ขาดคุณสมบัติที่จะขอรับความคุ้มครองได้ ดังนั้นหากผู้ประดิษฐ์ประสงค์จะตีพิมพ์ผลงานและต้องการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรด้วย ควรจะต้องวางแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกันโดยอาจปรึกษา TLO เพื่อช่วยในการเตรียมเอกสารคำขอในระหว่างที่กำลังเตรียมการเพื่อตีพิมพ์ผลงานไปพร้อมๆกัน