ความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

*หมายเหตุ : ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือ Click

พรบ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 กว่าวไว้ว่า ผู้ประดิษฐ์เป็นผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตรและมีสิทธิที่จะได้รับการระบุชื่อว่าเป็นผู้ประดิษฐ์ในสิทธิบัตรนั้นได้ เว้นแต่เป็นสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นจากตามสัญญาจ้าง (มาตรา 11)

ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือลูกจ้างทำตามสัญญาจ้างงาน/จ้างประดิษฐ์/จ้างวิจัย สิทธิในสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นเป็นของนายจ้างหรือหน่วยงาน (แต่จะต้องจ่ายบำเหน็จพิเศษให้แก่ลูกจ้างกรณีนายจ้างนำไปใช้ประโยชน์ (มาตรา 12 และ 13)

” หลายคนต่างทำสิ่งประดิษฐ์เดียวกัน สิทธิในสิทธิบัตรที่เกิดขึ้นกับคนที่ได้ยื่นจดทะเบียนก่อน”

ความเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ตามระเบียบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

      ตามระเบียบระเบียบมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่าด้วย การดำเนินงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ.2552 ทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย  ได้แก่   ทรัพย์สินทางปัญญาที่มหาวิทยาลัยถือสิทธิ   ความเป็นเจ้าของในผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างผลงาน   ได้สร้างสรรค์  ประดิษฐ์หรือทำขึ้นโดยหน้าที่  การจ้าง   การทำตามคําสั่งหรืออยู่ในความควบคุมดูแลของมหาวิทยาลัย  โดยได้ใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยในการสร้างสรรค์ผลงานซึ่งอาจเป็นงานอันเกิดจากเงินงบประมาณหรือจากแหล่งทุนอื่น

      กรณีผลงานการประดิษฐ์     กรรมวิธีหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์เกิดจากผู้สร้างสรรค์งานได้ทำขึ้นโดยได้รับเงินสนับสนุนจากองค์กรหรือบุคคลใด ให้การทรงสิทธินั้นเป็นไปตามข้อตกลง

       ดังนั้น ในขั้นตอนการดำเนินการจดทะเบียนจึงต้องมีการลงนามยินยอมโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ทุกท่าน ซึ่งมีฐานะเป็น  “ผู้โอนสิทธิ” ให้แก่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีอธิการบดีลงนาม “ผู้รับโอนสิทธิ” (ข้อดีของการโอนสิทธิให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คือ จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากกรทรัพย์สินทางปัญญาในทุกขั้นตอน)  และหากเป็นกรณีสิทธิร่วมกับหน่วยงานภายนอกหรือเป็นสิทธิของหน่วยงานภายนอกตามเงื่อนไขของสัญญา ให้การดำเนินการเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญา.