Talent Mobility

Talent Mobility : TM

โครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัย

จุดเด่น
ของโครงการ

  • สนับสนุนงบประมาณการวิจัย 200,000 บาทต่อโครงการ โดยไม่จำเป็นต้องมีเงินสมทบจากภาคเอกชน
  • สนับสนุนค่าตอบแทนสำหรับนักวิจัยไม่เกิน 300,000 บาทต่อโครงการ
  • สนับสนุนงบประมาณค่าจ้างนักศึกษาผู้ช่วยวิจัย

นักศึกษาป.ตรี

8,000 บาทต่อเดือน

นักศึกษาป.โท

10,000 บาทต่อเดือน

นักศึกษาป.เอก

12,000 บาทต่อเดือน

  • สนับสนุนงบประมาณชดเชยเพื่อจ้างบุคคลากรทดแทนแก่หน่วยงานต้นสังกัดของนักวิจัย
อาจารย์ 4,000 บาท/วัน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 5,000 บาท/วัน
รองศาสตราจารย์/ศาสตราจารย์ 6,000 บาท/วัน
หลักเกณฑ์การเข้าร่วม
  1. สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเป็นนิติบุุคลที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎกหมายไทย
  2. บุคลากร วทน. ต้องมีหน่วยงานต้นสังกัดเป็นมหาวิทยาลัย หรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ
  3. กิจกรรมของสถานประกอบการที่รองรับการปฏิบัติงานบุคลากร วทน. ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้

การวิเคราะห์ทดสอบและระบบมาตรฐาน

การจัดการเทคโนโลยีนวัตกรรม

 การแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคและวิศวกรรม

 การวิจัยและพัฒนา

ขั้นตอนการดำเนินงาน
ตัวอย่างโครงการ

โครงการ การพัฒนาเกษตรแม่นยำสำหรับการทำมังคุดนอกฤดูกาล ปี 2562

  • ปัญหา

บริษัท ไชยจิตร-เอ็นเนอร์ยี่คอนซัลแตนซ์ จำกัด ผลิตมังคุดคุณภาพส่งออก ได้ประสบปัญหามังคุดผิวลายซึ่งมีสาเหตุหลักๆ จากการที่อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยไฟซึ่งจะไปดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกมังคุด ทำให้มังคุดที่มีเนื้อแก้ว ยางไหล และผิวมังคุดลาย ส่งผลให้ผลผลิตของมังคุดมีคุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือจำหน่ายไม่ได้ราคา

  • กระบวนการแก้ปัญหา

ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี สังกัด สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการศึกษาปัจจัยการผลิตมังคุดคุณภาพส่งออก และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มคุณภาพมังคุด ด้วยการใช้แอพพลิเคชั่นที่รายงานความชื้นในดินและอากาศของสวนมังคุด ในการควบคุมปริมาณน้ำที่เหมาะสมเพื่อไม่ก่อให้เกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นการพัฒนามังคุดที่มีคุณภาพได้มาตรฐานส่งออก ในต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อช่วยประหยัดต้นทุนให้กับชาวสวนมังคุด

  • ประโยชน์

เกษตรกรชาวสวนมังคุด ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าให้กับมังคุดในต้นทุนการผลิตที่ถูกลง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างแบรนด์สวนให้เป็นที่รู้จัก และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกรรายย่อยได้อีกด้วย

  • ปัญหา

บริษัท บ้านแหลมทรายบีชรีสอร์ท จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงแรมในบริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การสร้างโรงแรม ได้ประสบปัญหาระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเสื่อมโทรม ปะการังตายเป็นวงกว้าง ชายหาดถูกกัดเซาะ มีการกัดเซาะพังทลายของผิวหน้าดิน และมีตะกอนทับถมหนาทำให้น้ำทะเลบริเวณหาดขุ่น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวโรงแรมน้อยลง ผู้ประกอบการจึงมีรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง

  • กระบวนการแก้ปัญหา

ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย รศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี สังกัด สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปะการัง ชนิด และความชุกชุมของปลาในแนวปะการังบริเวณชายฝั่งของโรงแรม โดยการติดตั้งเซนเซอร์สำหรับการตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำทะเลบริเวณปะการัง แล้วจึงพัฒนาองค์ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยหลักระบบนิเวศสีเขียวในกับพนักงานโรงแรม รวมไปถึงชุมชนรอบข้าง

  • ประโยชน์

โรงแรมสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวในการที่มาดำน้ำดูปะการังส่งผลให้โรงแรมมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังส่งผลให้ระบบนิเวศโดยรวมของชายฝั่งสวยงามมากขึ้น ลดปัญหาการกัดเซาะของชายหาด ส่งเสริมให้เศรษฐกิจโดยรวมของผู้ประกอบการ และชุมชนบริเวณชายฝั่งดรขึ้น

โครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยหลักระบบนิเวศให้กับโรงแรมสีเขียว ปี 2562

  • ปัญหา

บริษัท บ้านแหลมทรายบีชรีสอร์ท จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงแรมในบริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การสร้างโรงแรม ได้ประสบปัญหาระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเสื่อมโทรม ปะการังตายเป็นวงกว้าง ชายหาดถูกกัดเซาะ มีการกัดเซาะพังทลายของผิวหน้าดิน และมีตะกอนทับถมหนาทำให้น้ำทะเลบริเวณหาดขุ่น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวโรงแรมน้อยลง ผู้ประกอบการจึงมีรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง

  • กระบวนการแก้ปัญหา

ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย รศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี สังกัด สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปะการัง ชนิด และความชุกชุมของปลาในแนวปะการังบริเวณชายฝั่งของโรงแรม โดยการติดตั้งเซนเซอร์สำหรับการตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำทะเลบริเวณปะการัง แล้วจึงพัฒนาองค์ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยหลักระบบนิเวศสีเขียวในกับพนักงานโรงแรม รวมไปถึงชุมชนรอบข้าง

  • ประโยชน์

โรงแรมสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวในการที่มาดำน้ำดูปะการังส่งผลให้โรงแรมมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังส่งผลให้ระบบนิเวศโดยรวมของชายฝั่งสวยงามมากขึ้น ลดปัญหาการกัดเซาะของชายหาด ส่งเสริมให้เศรษฐกิจโดยรวมของผู้ประกอบการ และชุมชนบริเวณชายฝั่งดรขึ้น

โครงการ การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อตรวจสอบลักษณะทนแล้งในปาล์มน้ำมัน ปี 2561

  • ปัญหา

บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน ประสบปัญหาปาล์มน้ำมันขาดน้ำตาย ในขณะที่บางต้นไม่ตาย จึงอยากหาต้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่สามารถทนแล้งได้ดี

  • กระบวนการแก้ปัญหา

ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย รศ.ดร. พจมาลย์  สุรนิลพงศ์ สังกัด สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ทำการศึกษาการเชื่อมโยงของยีนและลักษณะความทนแล้งในปาล์มน้ำมัน เพื่อพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลของปาล์มน้ำมันทนแล้ง

  • ประโยชน์

ทางบริษัทฯ ได้ พ่อ-แม่ พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะทนแล้ง ทำให้สามารถลดการตายจากการขาดน้ำของต้นปาล์ม จึงเป็นการลดต้นทุนในการซ่อมแซมแปลงปาล์มน้ำมัน ทั้งยังช่วยในการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมันอีกด้วย

Scroll to Top