เชิงพาณิชย์

Public and Private Linkage for Commercialize Research Project : CR

โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์

กรอบแนวคิด

โครงการวิจัยและพัฒนาภาครัฐร่วมเอกชนในเชิงพาณิชย์เป็นการทําวิจัยเพื่อตอบโจทย์ของภาคอุตสาหกรรม โดยกลไกความร่วมมือ/ ร่วมทุน 3 ฝ่ายระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สป.อว.) สถาบันอุดมศึกษา และภาคอุตสาหกรรม โดยเน้นประเด็นโจทย์วิจัยที่เกิดจากความต้องการของภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการนําองค์ความรู้จากสถาบันอุดมศึกษามาวิจัยและพัฒนาร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งทุนและวัตถุดิบที่มีศักยภาพสูงในการแข่งขันเพื่อให้เกิดผลผลิตตรงตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัยและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี งบประมาณ 2552 ได้มีการบูรณาการเชื่อมโยงภารกิจผ่านกลไกเครือข่ายอุดมศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อให้การบริหารโครงการมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

objective

บัณฑิตในระดับบัณฑิตศึกษามีทักษะในการตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

สร้างขีดความสามารถเชิงการแข่งขันทั้งของ SME และภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง

ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านอุตสาหกรรมและสร้างเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

เป็นช่องทางพัฒนางานวิจัยที่มีมาตรฐานสูง จดทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย

พัฒนาให้เกิดนวัตกรรมเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐบาล

หลักเกณฑ์การสนับสนุน

Budget

ภาครัฐ : ภาคเอกชน
start at 70:30
(Cash 15%)

Project Period

ดำเนินการวิจัยภายในระยะเวลา 10 เดือน

Problem

ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

Output

1121

ประโยชน์ของโครงการ

1. ลดต้นทุนการผลิต
2. ลดการนําเข้าวัตถุดิบหรือเทคโนโลยี
3. เกิดกระบวนการผลิตใหม่
4. สร้างสินค้าทดแทน
5. ระบบการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิต
6. พัฒนาความสามารถในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และเทคโนโลยีใหม่
7. เพิ่มขีดความสามารถเชิงการแข่งขัน
8. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้
9. สร้างความยั่งยืนให้กับงานวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน

ขั้นตอน การดำเนินงาน

ตัวอย่างโครงการ

01

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาระบบลดความชื้นเชื้อเพลิงชีวมวลแบบต่อเนื่องด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจากความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล (เน้นไม้สับ) เป็นเชื้อเพลิงนั้นยังประสบปัญหาความชื้นที่มีอยู่ในวัสดุ ทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ลดลงจนบางครั้งต้องหยุดการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเสียหายต่อระบบ ทำให้ผลกำไร/ขาดทุนไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งความคงที่ของปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการผลิตมีกำลังการผลิตที่ไม่แน่นอน
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    การพัฒนาที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถใช้งานได้จริง และสามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้ บริษัทนำไปใช้ในการผลิต   เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ / เครื่องจักร ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจะเสนอเพื่อจำหน่ายต่อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วทั้งในและต่างประเทศ

โครงการ : การพัฒนาระบบลดความชื้นเชื้อเพลิงชีวมวลแบบต่อเนื่องด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า

หัวหน้าโครงการ นายไพรวัลย์ เกิดทองมี
หน่วยงานต้นสังกัด ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัทแฟร์เวย์ โฮลดิ้ง จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาระบบลดความชื้นเชื้อเพลิงชีวมวลแบบต่อเนื่องด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจากความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล (เน้นไม้สับ) เป็นเชื้อเพลิงนั้นยังประสบปัญหาความชื้นที่มีอยู่ในวัสดุ ทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ลดลงจนบางครั้งต้องหยุดการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเสียหายต่อระบบ ทำให้ผลกำไร/ขาดทุนไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งความคงที่ของปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการผลิตมีกำลังการผลิตที่ไม่แน่นอน
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    การพัฒนาที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถใช้งานได้จริง และสามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้ บริษัทนำไปใช้ในการผลิต   เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ / เครื่องจักร ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจะเสนอเพื่อจำหน่ายต่อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วทั้งในและต่างประเทศ

02

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกกุ้งขาวด้วยแพลงก์ตอนพืช ที่ส่งผลมาจากลูกกุ้งที่มีการเจริญเติบโตที่ดียังมีปริมาณไม่เพียงพอ
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทนำไปใช้ในการผลิตลูกกุ้งในโรงเพาะฟักที่บริษัทดำเนินการ ในต้นทุนไม่เกิน 12 สตางค์ โดยปกติทางฟาร์มใช้ลูกกุ้งไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว จะทำให้ประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 1,800,000 บาท และจะถ่ายทอดเทคนิคให้แก่บุคคลากรของบริษัทที่มีโครงการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งต่อไป พร้อมกับจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ใช้อาหารของทางบริษัทผลิตลูกกุ้งต่อไป

โครงการ : การเปลี่ยนหญ้าเนเปียร์เป็นแก๊สมีเทนโดยใช้เอนไซม์จากวัสดุเศษเหลือจากการเพาะเห็ดและน้ำทิ้งจากการผลิตแก๊สมีเทนเป็นกล้าเชื้อ

หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.สถาพร ดิเรกบุษราคม
หน่วยงานต้นสังกัด  สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี  พ.ศ. 2560 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกกุ้งขาวด้วยแพลงก์ตอนพืช ที่ส่งผลมาจากลูกกุ้งที่มีการเจริญเติบโตที่ดียังมีปริมาณไม่เพียงพอ
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทนำไปใช้ในการผลิตลูกกุ้งในโรงเพาะฟักที่บริษัทดำเนินการ ในต้นทุนไม่เกิน 12 สตางค์ โดยปกติทางฟาร์มใช้ลูกกุ้งไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว จะทำให้ประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 1,800,000 บาท และจะถ่ายทอดเทคนิคให้แก่บุคคลากรของบริษัทที่มีโครงการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งต่อไป พร้อมกับจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ใช้อาหารของทางบริษัทผลิตลูกกุ้งต่อไป

03

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความสนใจในธุรกิจพลังงานทดแทน โดยมีความประสงค์ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นวัตถุดิบหมักเป็นแก๊สมีเทนเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทได้ข้อมูลการตัดสินใจในการลงทุนการดำเนินธุรกิจด้านการผลิตแก๊สชีวภาพ การใช้หญ้าเนเปียร์เป็นแหล่งพลังงานผลิตแก๊สมีเทน และไฟฟ้า เพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการก้านการผลิตแก๊สชีวภาพจากมวลพืชให้กับผู้สนใจทั่วไป และยังมีผลดีต่อเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย ทั้งนี้ หากบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด รับซื้อหญ้าเนเปียร์ในราคาประกันตันละ 400 บาท เป็นจำนวน 165,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 66 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะเป็นรายได้เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ในพื้นที่ภาคใต้

โครงการ : การเปลี่ยนหญ้าเนเปียร์เป็นแก๊สมีเทนโดยใช้เอนไซม์จากวัสดุเศษเหลือจากการเพาะเห็ดและน้ำทิ้งจากการผลิตแก๊สมีเทนเป็นกล้าเชื้อ

หัวหน้าโครงการ ศ.ดร.วรรณา  ชูฤทธิ์
หน่วยงานต้นสังกัด  สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี  พ.ศ. 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความสนใจในธุรกิจพลังงานทดแทน โดยมีความประสงค์ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นวัตถุดิบหมักเป็นแก๊สมีเทนเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทได้ข้อมูลการตัดสินใจในการลงทุนการดำเนินธุรกิจด้านการผลิตแก๊สชีวภาพ การใช้หญ้าเนเปียร์เป็นแหล่งพลังงานผลิตแก๊สมีเทน และไฟฟ้า เพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการก้านการผลิตแก๊สชีวภาพจากมวลพืชให้กับผู้สนใจทั่วไป และยังมีผลดีต่อเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย ทั้งนี้ หากบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด รับซื้อหญ้าเนเปียร์ในราคาประกันตันละ 400 บาท เป็นจำนวน 165,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 66 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะเป็นรายได้เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ในพื้นที่ภาคใต้

04

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องอบไมโครเวฟที่ความดันต่ำ เพื่อรองรับการเติบโตของการผลิตสมุนไพรในเชิงพานิชย์ตามนโยบายของรัฐบาล ในประเทศไทยยังมีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวน้อยมาก เนื่องจากราคาแพง และขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งพืชสมุนไพร สำหรับยืดอายุการเก็บรักษา และการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยา หรือผลิตภัณฑ์สปาที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีไมโครเวฟที่ความดันต่ำเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการอบแห้งสมุนไพร สามารถรักษาคุณค่าต่างๆได้
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    ทำให้เป็นบริษัทแรกในภาคใต้ที่สามารถผลิตตู้ไมโครเวฟที่ความดันต่ำ ที่จะทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศ และทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการลงทุนเพื่ออบแห้งสมุนไพรที่มีคุณภาพสูง ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบทางเคมีที่มีประโยชน์ของสมุนไพร และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตร

โครงการ : การพัฒนาเครื่องอบแห้งสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟที่ความดันต่ำ

หัวหน้าโครงการ  รศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ
หน่วยงานต้นสังกัด  สาขาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี  พ.ศ. 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัทบ้านใต้เทคโนโลยี จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องอบไมโครเวฟที่ความดันต่ำ เพื่อรองรับการเติบโตของการผลิตสมุนไพรในเชิงพานิชย์ตามนโยบายของรัฐบาล ในประเทศไทยยังมีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวน้อยมาก เนื่องจากราคาแพง และขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งพืชสมุนไพร สำหรับยืดอายุการเก็บรักษา และการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยา หรือผลิตภัณฑ์สปาที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีไมโครเวฟที่ความดันต่ำเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการอบแห้งสมุนไพร สามารถรักษาคุณค่าต่างๆได้
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    ทำให้เป็นบริษัทแรกในภาคใต้ที่สามารถผลิตตู้ไมโครเวฟที่ความดันต่ำ ที่จะทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศ และทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการลงทุนเพื่ออบแห้งสมุนไพรที่มีคุณภาพสูง ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบทางเคมีที่มีประโยชน์ของสมุนไพร และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตร
Scroll to Top