ตัวอย่างโครงการ

iTech

ตัวอย่างโครงการ

ITAP

ITAP 1 : ลาอบกรอบด้วยเทคโนโลยีไมโครเวฟ

  • ปัญหาและความเป็นมา

    ร้านขนมป้าแดง มีแนวคิดต้องการปรับปรุงกระบวนการอบแห้งลาอบกรอบเนื่องจากมีปํญหาการอบในช่วงฤดูฝนที่ไม่สามารถผลิตลาอบกรอบได้

  • ITAP ช่วยอะไร

    สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านพลาสมาและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มหาวิทยาลัยลัยลักษณ์ พัฒนาและออกแบบตู้อบด้วยเทคโนโลยีไมโครเวฟ

  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

    ได้ตู้อบลากรอบด้วยเทคโนโลยีไมโครเวฟ ที่มีประสิทธิภาพสูง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ITAP 2 : อร่อยและดีต่อสุขภาพจากปลาหยอง

  • ปัญหาและความเป็นมา

    ในพื้นที่อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เกษตรกรมีการเลี้ยงปลานิลจำนวนมาก ส่วนใหญ่จำหน่ายรูปแบบปลาสดเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบการจึงต้องการนำปลานิลไปแปรรูปให้ความแปลกใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการ และสะดวกในการบริโภค
  • ITAP ช่วยอะไร

    สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช พัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์นิลหยอง
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

    ได้ผลิตภัณฑ์ปลาหยอง ที่ผู้บริโภคให้การยอมรับอร่อยและดีต่อสุขภาพ

ITAP 3 : เพิ่มมูลค่าของเสียจากขี้เลื่อยเป็นเชื้อเพลิงพลังงานทดแทน

  • ปัญหาและความเป็นมา

    บริษัท ศรีสุภาพ พาราวู้ด จำกัด ต้องการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ด (วู้ดเพลเลท) เพื่อแก้ปัญหาการจัดเก็บขี้เลื่อยและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์

  • ITAP ช่วยอะไร

    สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับต้นแบบการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ด(wood pellet) จากขี้เลื่อยยางพาราด้วยเทคโนโลยีการอัดเม็ดในรูปแบบริงดายแนวตั้งที่มีระบบส่งกำลังแบบผสม

  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

    ได้เครื่องผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ด(wood pellet)จากขี้เลื่อยยางพารา

IRTC

ชื่อโครงการ “พัฒนาคุณภาพและยืดอายุเครื่องดื่มน้ำข้าวโพดที่มีความเป็นกรดต่ำ” ปี 2563

ชื่อบริษัท/สถานประกอบการ บริษัท เกรท แอนด์ ริช จำกัด จังหวัด กรุงเทพฯ

  • โจทย์ที่พบ

    บริษัท เกรท แอนด์ ริช จำกัด ผลิตน้ำนมข้าวโพด แบรนด์ “Feel Fresh” pasteurize สด ใหม่ ไม่ผสมสารกันเสียไม่มีครีมเทียมและนมผง จำหน่วยในท๊อปซุปเปอร์มาเก็ต ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีอายุการเก็บรักษาได้ยาวนานยิ่งขึ้นเพื่อการขยายโอกาสทางการตลาดให้แก่ผลิตภัณฑ์

  • การช่วยเหลือจาก IRTC

    สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเครื่องดื่มน้ำข้าวโพดเป็นเครื่องดื่ม UHT เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์น้ำข้าวโพดให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น และยังคงรสชาติและเนื้อสัมผัส ที่เป็นที่ตัองการของผู้บริโภค

  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

    ได้ผลิตภัณฑ์น้ำข้าวโพดฆ่าเชื้อระดับ sterilized ด้วยระบบ Aseptic process (UHT) สามารถยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ จากน้ำข้าวโพด pasteurize จัดเก็บที่อุณภูมิ 2-6 องศาเซลเซียส อายุไม่เกิน 14 วัน เป็น น้ำข้าวโพดฆ่าเชื้อระดับ sterilized ด้วยระบบ Aseptic process (UHT) ที่อุณหภูมิ 140 องศา อายุการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง 1-2 ปี ให้คงรสชาติและเนื้อสัมผัส ที่เป็นที่ตัองการของผู้บริโภค

ชื่อโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาเชียงลดไขมัน” ปี 2563

ชื่อบริษัท/สถานประกอบการ บริษัท เอ.พี เอ๊กซ์พอร์ท จำกัด จังหวัด นครศรีธรรมราช

B6BE3C85-0F91-4420-A9AD-B0BEB6E89028
  • โจทย์ที่พบ

    บริษัท เอ.พี เอ๊กซ์พอร์ท จำกัด ดำเนินธุรกิจเลี้ยงและจำหน่ายปลานิลสด ต้องการนำวัตถุดิบทางการเกษตรมาสร้างเพิ่มมูลค่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น

  • การช่วยเหลือจาก IRTC

    สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์กุนเชียงปลาลดไขมันโดยใช้คาราจีแนนเป็นสารทดแทนไขมันศึกษาสูตรการผลิตที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์

  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

    ได้ผลิตภัณฑ์ปลาเชียงที่มีรสชาติเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เกษตร

ชื่อโครงการ “การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปั้นสิบและเบเกอร์รี่เสริมแคลเซียมจากกระดูกปลาตาโตผง” ปี 2562

ชื่อบริษัท/สถานประกอบการ บริษัท คุณยาย 99 จำกัด จังหวัด ชุมพร

  • โจทย์ที่พบ

    บริษัท คุณยาย 99 จำกัด ผลิตและจำหน่ายขนมปั้นสิบใส้ปลา ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนการผลิต และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย เพื่อขยายตลาด

  • การช่วยเหลือจาก IRTC

    สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจาก By Product

  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

    ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่จากผงกระดูกปลา สามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับผู้ประกอบการ

Talent Mobility

โครงการ การพัฒนาเกษตรแม่นยำสำหรับการทำมังคุดนอกฤดูกาล ปี 2562

  • ปัญหา

บริษัท ไชยจิตร-เอ็นเนอร์ยี่คอนซัลแตนซ์ จำกัด ผลิตมังคุดคุณภาพส่งออก ได้ประสบปัญหามังคุดผิวลายซึ่งมีสาเหตุหลักๆ จากการที่อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการระบาดของเพลี้ยไฟซึ่งจะไปดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกมังคุด ทำให้มังคุดที่มีเนื้อแก้ว ยางไหล และผิวมังคุดลาย ส่งผลให้ผลผลิตของมังคุดมีคุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดหรือจำหน่ายไม่ได้ราคา

  • กระบวนการแก้ปัญหา

ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย รศ.ดร. กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี สังกัด สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ได้ทำการศึกษาปัจจัยการผลิตมังคุดคุณภาพส่งออก และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มคุณภาพมังคุด ด้วยการใช้แอพพลิเคชั่นที่รายงานความชื้นในดินและอากาศของสวนมังคุด ในการควบคุมปริมาณน้ำที่เหมาะสมเพื่อไม่ก่อให้เกิดการระบาดของเพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นการพัฒนามังคุดที่มีคุณภาพได้มาตรฐานส่งออก ในต้นทุนการผลิตที่ต่ำเพื่อช่วยประหยัดต้นทุนให้กับชาวสวนมังคุด

  • ประโยชน์

เกษตรกรชาวสวนมังคุด ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการเพิ่มมูลค่าให้กับมังคุดในต้นทุนการผลิตที่ถูกลง ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างแบรนด์สวนให้เป็นที่รู้จัก และยังเป็นการเพิ่มศักยภาพให้กับเกษตรกรรายย่อยได้อีกด้วย

โครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยหลักระบบนิเวศให้กับโรงแรมสีเขียว ปี 2562

  • ปัญหา

บริษัท บ้านแหลมทรายบีชรีสอร์ท จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการโรงแรมในบริเวณชายฝั่งทะเล อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การสร้างโรงแรม ได้ประสบปัญหาระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งเสื่อมโทรม ปะการังตายเป็นวงกว้าง ชายหาดถูกกัดเซาะ มีการกัดเซาะพังทลายของผิวหน้าดิน และมีตะกอนทับถมหนาทำให้น้ำทะเลบริเวณหาดขุ่น ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวโรงแรมน้อยลง ผู้ประกอบการจึงมีรายได้จากการท่องเที่ยวลดลง

  • กระบวนการแก้ปัญหา

ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย รศ.ดร. มัลลิกา เจริญสุธาสินี สังกัด สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของปะการัง ชนิด และความชุกชุมของปลาในแนวปะการังบริเวณชายฝั่งของโรงแรม โดยการติดตั้งเซนเซอร์สำหรับการตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำทะเลบริเวณปะการัง แล้วจึงพัฒนาองค์ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการฟื้นฟูแนวปะการังด้วยหลักระบบนิเวศสีเขียวในกับพนักงานโรงแรม รวมไปถึงชุมชนรอบข้าง

  • ประโยชน์

โรงแรมสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวในการที่มาดำน้ำดูปะการังส่งผลให้โรงแรมมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังส่งผลให้ระบบนิเวศโดยรวมของชายฝั่งสวยงามมากขึ้น ลดปัญหาการกัดเซาะของชายหาด ส่งเสริมให้เศรษฐกิจโดยรวมของผู้ประกอบการ และชุมชนบริเวณชายฝั่งดรขึ้น

โครงการ การพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อตรวจสอบลักษณะทนแล้งในปาล์มน้ำมัน ปี 2561

  • ปัญหา

บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ผลิตและจำหน่าย ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน ประสบปัญหาปาล์มน้ำมันขาดน้ำตาย ในขณะที่บางต้นไม่ตาย จึงอยากหาต้นพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่สามารถทนแล้งได้ดี

  • กระบวนการแก้ปัญหา

ทางทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดย รศ.ดร. พจมาลย์  สุรนิลพงศ์ สังกัด สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ได้ทำการศึกษาการเชื่อมโยงของยีนและลักษณะความทนแล้งในปาล์มน้ำมัน เพื่อพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลของปาล์มน้ำมันทนแล้ง

  • ประโยชน์

ทางบริษัทฯ ได้ พ่อ-แม่ พันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีลักษณะทนแล้ง ทำให้สามารถลดการตายจากการขาดน้ำของต้นปาล์ม จึงเป็นการลดต้นทุนในการซ่อมแซมแปลงปาล์มน้ำมัน ทั้งยังช่วยในการเพิ่มผลผลิตของปาล์มน้ำมันอีกด้วย

Co-Research

โครงการ

ยกระดับมาตรฐานค่าโดบี้น้ำมันปล์มดิบของโรงหีบขนาดเล็กด้วยการวิจัยร่วม

ปัญหาและความเป็นมา

โรงหีบน้ำมันปาล์มรวมแสงอรุณปาล์มออยล์ จำกัดมีความมุ่งมั่นในการเพิ่มค่าโดบี้ของน้ำมันปาล์ม เนื่องจากน้ำมันปาล์มที่ได้จากโรงหีบน้ำมันปาล์มรวม มีค่าโดบี้ต่ำทำให้ขายได้ต่ำกว่า ประมาณลิตรละ 1-1.50 บาท

Co-Research ช่วยอะไร

สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงกระบวนการอบแห้งของโรงหีบน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มค่าโดบี้ให้ได้ตามมาตรฐานโดยนำเทคนิคการให้ความร้อนด้วยเครื่องไมโครเวฟมาใช้งานร่วมกับการให้ความร้อนด้วยลมร้อน เพื่อใช้พัฒนาขั้นตอนการให้ความร้อนกับผลปาล์มสดก่อนการบีบน้ามัน

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

ได้กระบวนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบของโรงหีบขนาดเล็ก ที่ได้ค่าโดบี้มาตรฐานที่กำหนดไว้

รัฐร่วมเอกชน

01

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาระบบลดความชื้นเชื้อเพลิงชีวมวลแบบต่อเนื่องด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจากความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล (เน้นไม้สับ) เป็นเชื้อเพลิงนั้นยังประสบปัญหาความชื้นที่มีอยู่ในวัสดุ ทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ลดลงจนบางครั้งต้องหยุดการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเสียหายต่อระบบ ทำให้ผลกำไร/ขาดทุนไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งความคงที่ของปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการผลิตมีกำลังการผลิตที่ไม่แน่นอน
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    การพัฒนาที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถใช้งานได้จริง และสามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้ บริษัทนำไปใช้ในการผลิต   เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ / เครื่องจักร ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจะเสนอเพื่อจำหน่ายต่อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วทั้งในและต่างประเทศ

โครงการ : การพัฒนาระบบลดความชื้นเชื้อเพลิงชีวมวลแบบต่อเนื่องด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า

หัวหน้าโครงการ นายไพรวัลย์ เกิดทองมี
หน่วยงานต้นสังกัด ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัทแฟร์เวย์ โฮลดิ้ง จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาระบบลดความชื้นเชื้อเพลิงชีวมวลแบบต่อเนื่องด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับอุตสาหกรรม ผลิตไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้าจากความร้อนที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล (เน้นไม้สับ) เป็นเชื้อเพลิงนั้นยังประสบปัญหาความชื้นที่มีอยู่ในวัสดุ ทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ลดลงจนบางครั้งต้องหยุดการดำเนินงาน ทำให้เกิดการเสียหายต่อระบบ ทำให้ผลกำไร/ขาดทุนไม่สามารถควบคุมได้ อีกทั้งความคงที่ของปริมาณไฟฟ้าที่ต้องการผลิตมีกำลังการผลิตที่ไม่แน่นอน
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    การพัฒนาที่ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถใช้งานได้จริง และสามารถผลิตในเชิงอุตสาหกรรมได้ บริษัทนำไปใช้ในการผลิต   เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ / เครื่องจักร ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจะเสนอเพื่อจำหน่ายต่อโรงงานผลิตไฟฟ้าทั่วทั้งในและต่างประเทศ

02

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกกุ้งขาวด้วยแพลงก์ตอนพืช ที่ส่งผลมาจากลูกกุ้งที่มีการเจริญเติบโตที่ดียังมีปริมาณไม่เพียงพอ
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทนำไปใช้ในการผลิตลูกกุ้งในโรงเพาะฟักที่บริษัทดำเนินการ ในต้นทุนไม่เกิน 12 สตางค์ โดยปกติทางฟาร์มใช้ลูกกุ้งไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว จะทำให้ประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 1,800,000 บาท และจะถ่ายทอดเทคนิคให้แก่บุคคลากรของบริษัทที่มีโครงการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งต่อไป พร้อมกับจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ใช้อาหารของทางบริษัทผลิตลูกกุ้งต่อไป

โครงการ : การเปลี่ยนหญ้าเนเปียร์เป็นแก๊สมีเทนโดยใช้เอนไซม์จากวัสดุเศษเหลือจากการเพาะเห็ดและน้ำทิ้งจากการผลิตแก๊สมีเทนเป็นกล้าเชื้อ

หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.สถาพร ดิเรกบุษราคม
หน่วยงานต้นสังกัด  สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี  พ.ศ. 2560 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ ต้องการพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกกุ้งขาวด้วยแพลงก์ตอนพืช ที่ส่งผลมาจากลูกกุ้งที่มีการเจริญเติบโตที่ดียังมีปริมาณไม่เพียงพอ
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทนำไปใช้ในการผลิตลูกกุ้งในโรงเพาะฟักที่บริษัทดำเนินการ ในต้นทุนไม่เกิน 12 สตางค์ โดยปกติทางฟาร์มใช้ลูกกุ้งไม่น้อยกว่า 20 ล้านตัว จะทำให้ประหยัดเงินได้ไม่น้อยกว่า 1,800,000 บาท และจะถ่ายทอดเทคนิคให้แก่บุคคลากรของบริษัทที่มีโครงการพัฒนาสายพันธุ์กุ้งต่อไป พร้อมกับจำหน่ายให้แก่เกษตรกรที่ใช้อาหารของทางบริษัทผลิตลูกกุ้งต่อไป

03

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความสนใจในธุรกิจพลังงานทดแทน โดยมีความประสงค์ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นวัตถุดิบหมักเป็นแก๊สมีเทนเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทได้ข้อมูลการตัดสินใจในการลงทุนการดำเนินธุรกิจด้านการผลิตแก๊สชีวภาพ การใช้หญ้าเนเปียร์เป็นแหล่งพลังงานผลิตแก๊สมีเทน และไฟฟ้า เพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการก้านการผลิตแก๊สชีวภาพจากมวลพืชให้กับผู้สนใจทั่วไป และยังมีผลดีต่อเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย ทั้งนี้ หากบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด รับซื้อหญ้าเนเปียร์ในราคาประกันตันละ 400 บาท เป็นจำนวน 165,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 66 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะเป็นรายได้เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ในพื้นที่ภาคใต้

โครงการ : การเปลี่ยนหญ้าเนเปียร์เป็นแก๊สมีเทนโดยใช้เอนไซม์จากวัสดุเศษเหลือจากการเพาะเห็ดและน้ำทิ้งจากการผลิตแก๊สมีเทนเป็นกล้าเชื้อ

หัวหน้าโครงการ ศ.ดร.วรรณา  ชูฤทธิ์
หน่วยงานต้นสังกัด  สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี  พ.ศ. 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความสนใจในธุรกิจพลังงานทดแทน โดยมีความประสงค์ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นวัตถุดิบหมักเป็นแก๊สมีเทนเพื่อใช้ผลิตไฟฟ้า
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    บริษัทได้ข้อมูลการตัดสินใจในการลงทุนการดำเนินธุรกิจด้านการผลิตแก๊สชีวภาพ การใช้หญ้าเนเปียร์เป็นแหล่งพลังงานผลิตแก๊สมีเทน และไฟฟ้า เพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการก้านการผลิตแก๊สชีวภาพจากมวลพืชให้กับผู้สนใจทั่วไป และยังมีผลดีต่อเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย ทั้งนี้ หากบริษัททักษิณปาล์ม (2521) จำกัด รับซื้อหญ้าเนเปียร์ในราคาประกันตันละ 400 บาท เป็นจำนวน 165,000 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 66 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะเป็นรายได้เสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร ในพื้นที่ภาคใต้

04

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องอบไมโครเวฟที่ความดันต่ำ เพื่อรองรับการเติบโตของการผลิตสมุนไพรในเชิงพานิชย์ตามนโยบายของรัฐบาล ในประเทศไทยยังมีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวน้อยมาก เนื่องจากราคาแพง และขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งพืชสมุนไพร สำหรับยืดอายุการเก็บรักษา และการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยา หรือผลิตภัณฑ์สปาที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีไมโครเวฟที่ความดันต่ำเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการอบแห้งสมุนไพร สามารถรักษาคุณค่าต่างๆได้
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    ทำให้เป็นบริษัทแรกในภาคใต้ที่สามารถผลิตตู้ไมโครเวฟที่ความดันต่ำ ที่จะทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศ และทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการลงทุนเพื่ออบแห้งสมุนไพรที่มีคุณภาพสูง ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบทางเคมีที่มีประโยชน์ของสมุนไพร และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตร

โครงการ : การพัฒนาเครื่องอบแห้งสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟที่ความดันต่ำ

หัวหน้าโครงการ  รศ.ดร.หมุดตอเล็บ หนิสอ
หน่วยงานต้นสังกัด  สาขาฟิสิกส์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี  พ.ศ. 2559 จากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และบริษัทบ้านใต้เทคโนโลยี จำกัด

  • ปัญหาและความเป็นมา
    บริษัทฯ มีความต้องการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องอบไมโครเวฟที่ความดันต่ำ เพื่อรองรับการเติบโตของการผลิตสมุนไพรในเชิงพานิชย์ตามนโยบายของรัฐบาล ในประเทศไทยยังมีการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวน้อยมาก เนื่องจากราคาแพง และขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการอบแห้งพืชสมุนไพร สำหรับยืดอายุการเก็บรักษา และการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยา หรือผลิตภัณฑ์สปาที่มีคุณภาพ เทคโนโลยีไมโครเวฟที่ความดันต่ำเป็นเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงในการอบแห้งสมุนไพร สามารถรักษาคุณค่าต่างๆได้
  • ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น
    ทำให้เป็นบริษัทแรกในภาคใต้ที่สามารถผลิตตู้ไมโครเวฟที่ความดันต่ำ ที่จะทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวจากต่างประเทศ และทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการลงทุนเพื่ออบแห้งสมุนไพรที่มีคุณภาพสูง ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบทางเคมีที่มีประโยชน์ของสมุนไพร และเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าทางการเกษตร

ฐานราก

โครงการ : การเพิ่มศักยภาพการผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ปัญหาและความเป็นมา

จากการที่ผู้วิจัยได้เข้าไปประชุมกลุ่มร่วมกับผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่คอล่อนศรีวิชัยในอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยของกลุ่มยังไม่สามารถกำหนดการผลิตไก่ส่งตลาดได้  รวมทั้งไม่สามารถควบคุมน้ำหนักและคุณภาพ เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มทำการการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ปล่อยหากินตามธรรมชาติ ร่วมกับการให้อาหารเสริม ทำให้ไก่มีขนาดไม่สม่ำเสมอ ประกอบกับการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ จึงมีจำนวนลูกไก่ที่ได้จากการฟักไม่ต่อเนื่อง ถึงแม้ในปัจจุบันกลุ่มอนุรักษ์ไก่จะทำการรวบรวมไก่คอล่อนศรีวิชัยทั้งหมดจำหน่ายผ่านกิจกรรมของกลุ่มก็ตาม  ดังนั้นหากภายในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันผลิต และมีการใช้เทคโนโลยีผสมเทียม ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้รับการได้รับการศึกษาวิจัยว่าสามารถช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผสมติด และมีต้นทุนต่ำ เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ มีความซับซ้อนน้อย ร่วมกับการใช้ตู้ฟักไข่ ก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ อีกทั้งประเด็นปัญหาด้านการตลาด การจัดจำหน่ายที่อยู่ในวงแคบ ผลิตภัณฑ์จากไก่คอล่อนศรีวิชัยยังไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้นจึงเป็นประเด็นปัญหาที่กลุ่มผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญโดยต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยของกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนการพัฒนาและส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้ และเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งข้อมูลจากการวิจัยเป็นแนวทางให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการส่งเสริมหรือพัฒนาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  • เพิ่มการขยายพันธุ์โดยการผสมเทียมและการผสมธรรมชาติ
  • การพัฒนาและส่งเสริมการตลาดไก่คอล่อนศรีวิชัย
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ในด้านการผสมเทียม การฟักไข่ การจัดการลูกไก่หลังการฟักออก และการขุน รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่คอล่อนศรีวิชัยให้ตรงตามความต้องการของตลาด

โครงการ : ระบบดูแลผู้สูงอายุ ด้านโภชนาการ เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พื้นที่ เทศบาลตำบลชะมาย จ.นครศรีธรรมราช

ปัญหาและความเป็นมา

จากประเด็นที่ประเทศไทยและประชาคมโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้านโภชนาการ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว มีความต่อเนื่อง และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้นการวิจัย ชุดโครงการ เรื่อง ระบบดูแลผู้สูงอายุ ด้านโภชนาการ เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี พื้นที่ เทศบาลตำบลชะมาย จ.นครศรีธรรมราช จะพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็บ โมบายแอปพลิเคชัน นำแบบประเมินภาวะโภชนาการแบบ MNA มาปรับปรุงใช้ นำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ และใช้ซอฟต์แวร์ในกลุ่มมาตรฐานเปิด (Open Standards) เพื่อให้ทีมที่มีส่วนในการดูแลผู้สูงอายุ ใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อการวางแผนดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บมาใช้ในการประมวลความเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็น อันจะเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนและกว้างขวางในอนาคต

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  • ข้อมูลการคัดกรองภาวะโภชนาการผู้สูงอายุและแบบแผนการบริโภค
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ด้านโภชนาการ (http:s//healthychamai.sct.ac.th)
  • โมบายแอปพลิเคชัน “กินไงวัยเก๋า” เพื่อการประเมินภาวะโภชนาการและเสนอแนวทางการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
cmr
Scroll to Top