ฐานราก

โครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนฐานราก

Research and Innovation for Transfer Technology to Rural Community Projec  : CMR

เพื่อตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์ แห่งรัฐและส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเชื่อมโยงกับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น โดยนําองค์ความรู้จากผลงานวิจัย และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น มาถ่ายทอดทักษะความรู้ และเทคโนโลยี ที่เหมาะสมแก่ชุมชนทั้งนี้ชุมชนเป็นผู้กําหนดประเด็นปัญหาโจทย์วิจัย

กรอบแนวคิด

วัตถุประสงค์ของโครงการ

Hand

สร้างกลไกความร่วมมือ

สร้างกลไกความร่วมมือแบบเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ผู้ประกอบการชุมชน หรือหน่วยงานในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาโจทย์วิจัยที่มาจากความต้องการของชุมชนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัด/ท้องถิ่น อันจะตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนฐานรากอย่างแท้จริง

case

สนับสนุนงบประมาณ

สนับสนุนงบประมาณแก่คณาจารย์/นักวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษาให้ศึกษาวิจัย ถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีให้แก่ชุมชน และขยายผลสู่การพัฒนาผลิตภาพ (Productivity) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคม/เศรษฐกิจผ่านกลไกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาคประชาสังคมอย่างเป็นระบบ

Hand

สร้างโอกาสและพัฒนา

เพื่อเสริมสร้างโอกาสและพัฒนาสมรรถนะให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ประโยชน์ที่ได้รับ

เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่นักวิจัย สร้างความเข้าใจในการกําหนดงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด

สร้างเครือข่ายประชาสังคม (Civil Society Network) ในการพัฒนากระบวนการผลิตเทคโนโลยี และวิธีการดําเนินงานที่เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น

เกิดระบบการถ่ายโอนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และทักษะที่เป็ นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนฐานราก และมีการขยายผลต่อไปยังชุมชนอื่นๆ อย่างเป็ นรูปธรรม

เกิดกลไกความร่วมมือในการแก้ ไขปัญหาชุมชนด้วยการวิจัยในรูปแบบเครือข่าย

ตัวอย่างโครงการ

โครงการ : การเพิ่มศักยภาพการผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ปัญหาและความเป็นมา

จากการที่ผู้วิจัยได้เข้าไปประชุมกลุ่มร่วมกับผู้นำชุมชนและกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่คอล่อนศรีวิชัยในอำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า การผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยของกลุ่มยังไม่สามารถกำหนดการผลิตไก่ส่งตลาดได้  รวมทั้งไม่สามารถควบคุมน้ำหนักและคุณภาพ เนื่องจากสมาชิกในกลุ่มทำการการเลี้ยงแบบหลังบ้าน ปล่อยหากินตามธรรมชาติ ร่วมกับการให้อาหารเสริม ทำให้ไก่มีขนาดไม่สม่ำเสมอ ประกอบกับการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ จึงมีจำนวนลูกไก่ที่ได้จากการฟักไม่ต่อเนื่อง ถึงแม้ในปัจจุบันกลุ่มอนุรักษ์ไก่จะทำการรวบรวมไก่คอล่อนศรีวิชัยทั้งหมดจำหน่ายผ่านกิจกรรมของกลุ่มก็ตาม  ดังนั้นหากภายในกลุ่มมีการแบ่งหน้าที่กันผลิต และมีการใช้เทคโนโลยีผสมเทียม ซึ่งเป็นเทคนิคที่ได้รับการได้รับการศึกษาวิจัยว่าสามารถช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผสมติด และมีต้นทุนต่ำ เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ มีความซับซ้อนน้อย ร่วมกับการใช้ตู้ฟักไข่ ก็จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ อีกทั้งประเด็นปัญหาด้านการตลาด การจัดจำหน่ายที่อยู่ในวงแคบ ผลิตภัณฑ์จากไก่คอล่อนศรีวิชัยยังไม่เป็นที่รู้จัก ดังนั้นจึงเป็นประเด็นปัญหาที่กลุ่มผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญโดยต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตไก่คอล่อนศรีวิชัยของกลุ่มเกษตรกร ตลอดจนการพัฒนาและส่งเสริมด้านการตลาดเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กลุ่มเกษตรกรสามารถพัฒนาการผลิตสู่เชิงพาณิชย์ได้ และเป็นต้นแบบให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้สนใจทั่วไป รวมทั้งข้อมูลจากการวิจัยเป็นแนวทางให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการส่งเสริมหรือพัฒนาการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  • เพิ่มการขยายพันธุ์โดยการผสมเทียมและการผสมธรรมชาติ
  • การพัฒนาและส่งเสริมการตลาดไก่คอล่อนศรีวิชัย
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ในด้านการผสมเทียม การฟักไข่ การจัดการลูกไก่หลังการฟักออก และการขุน รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่คอล่อนศรีวิชัยให้ตรงตามความต้องการของตลาด

โครงการ : ระบบดูแลผู้สูงอายุ ด้านโภชนาการ เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พื้นที่ เทศบาลตำบลชะมาย จ.นครศรีธรรมราช

ปัญหาและความเป็นมา

จากประเด็นที่ประเทศไทยและประชาคมโลกกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุนั้น จะเห็นได้ว่า การวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้านโภชนาการ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาว มีความต่อเนื่อง และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายนั้น เป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้นการวิจัย ชุดโครงการ เรื่อง ระบบดูแลผู้สูงอายุ ด้านโภชนาการ เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี พื้นที่ เทศบาลตำบลชะมาย จ.นครศรีธรรมราช จะพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีเว็บ โมบายแอปพลิเคชัน นำแบบประเมินภาวะโภชนาการแบบ MNA มาปรับปรุงใช้ นำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ และใช้ซอฟต์แวร์ในกลุ่มมาตรฐานเปิด (Open Standards) เพื่อให้ทีมที่มีส่วนในการดูแลผู้สูงอายุ ใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อการวางแผนดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง และสามารถนำข้อมูลที่จัดเก็บมาใช้ในการประมวลความเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อการแก้ไขปัญหาให้ตรงประเด็น อันจะเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนและกว้างขวางในอนาคต

ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

  • ข้อมูลการคัดกรองภาวะโภชนาการผู้สูงอายุและแบบแผนการบริโภค
  • ระบบสารสนเทศเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ด้านโภชนาการ (http:s//healthychamai.sct.ac.th)
  • โมบายแอปพลิเคชัน “กินไงวัยเก๋า” เพื่อการประเมินภาวะโภชนาการและเสนอแนวทางการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุ
cmr
Scroll to Top