โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

One Tambon, One Product (OTOP)

โครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)" เป็นโครงการที่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP โดยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม องค์ความรู้และผลงานวิจัยที่เหมาะสมที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษามามีส่วนช่วยในการสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ OTOP และทายาทผู้ประกอบการ ซึ่งต้องการจะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศได้

โครงการ "หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP)" เป็นโครงการที่เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP โดยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม องค์ความรู้และผลงานวิจัยที่เหมาะสมที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษามามีส่วนช่วยในการสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ OTOP และทายาทผู้ประกอบการ ซึ่งต้องการจะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชนให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศได้

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ

01

เป็นผู้ประกอบการ OTOP ที่ขึ้นทะเบียนแล้วหรือมีสำเนาการขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานพัฒนาชุมชน

02

เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทกลุ่มอาหารหรือกลุ่มสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร

03

เป็นผู้ประกอบการที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร และจังหวัดระนอง

04

ต้องมีความพร้อมและความตั้งใจในการเข้าร่วมโครงการ

แนวทางการสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการ

บริการอบรมให้ความรู้ผู้ประกอบการ OTOP โดยมีเนื้อหาประกอบด้วยแนวคิดธุรกิจและความรู้เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจ ดังนี้

  • แนวคิดในการดำเนินธุรกิจ
  • แนวทางการประกอบธุรกิจ
  • การจัดการองค์กรและทรัพยากร
  • การจัดการวัตถุดิบและการผลิต
  • กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การตลาด การสร้างแบรนด์ และการขนส่ง
  • โครงสร้างการลงทุนและการบริหารการเงิน
  • การวิเคราะห์และวางแผนธุรกิจให้เหมาะสมกับกลุ่มผลิตภัณฑ์

ทุนสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการ สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อพัฒนาเชิงลึก

ขั้นตอนการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

จำนวนผู้ประกอบการ/ทายาทผู้ประกอบการโครงการ OTOP ได้รับการพัฒนาทักษะในการประกอบธุรกิจ อย่างน้อย 100 ราย

จำนวนผลิตภัณฑ์ OTOP อย่างน้อย 10 รายการ ได้รับการพัฒนาด้วยเทคโนโลยี องค์ความรู้ และ ผลงานวิจัย ของสถาบันอุดมศึกษา

จำนวนผลิตภัณฑ์ อย่างน้อย 10 รายการ ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การสร้างแบรนด์ ที่ได้มาตรฐานพร้อมออกสู่ตลาด

ตัวอย่างโครงการ OTOP