เรียนรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
*หมายเหตุ : ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือ Click
#gallery-1 {
margin: auto;
}
#gallery-1 .gallery-item {
float: left;
margin-top: 10px;
text-align: center;
width: 100%;
}
#gallery-1 img {
border: 2px solid #cfcfcf;
}
#gallery-1 .gallery-caption {
margin-left: 0;
}
/* see gallery_shortcode() in wp-includes/media.php */
- วงจรทรัพย์สินทางปัญญา (แบบสรุป) (อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ, 2561, น. 41)
- วงจรทรัพย์สินทางปัญญา (แบบละเอียด) (สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, 2561)
โดยปกติทั่วไปการขออนุญาตใช้สิทธิหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีในทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จะผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหรือสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยี (แล้วแต่กรณี)
การอนุญาตให้ใช้สิทธิมีทั้งแบบ Exclusive และ Non-Exclusive โดยผู้ขอรับเทคโนโลยีอาจจะมีทั้ง
- นักวิจัย ขอรับเทคโนโลยีจากมหาวิทยาลัยที่ตนเองเป็นผู้วิจัย
- นักศึกษาของมหาวิทยาลัย วางแผนประกอบธุรกิจหลังจากสำเร็จการศึกษา
- ผู้ประกอบการที่เริ่มธุรกิจใหม่
- ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว
- ผู้สนใจ บุคคลทั่วไป ที่ประสงค์จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์
ส่วนค่าตอบแทนในการอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา ความพร้อมของผู้ขอรับเทคโนโลยี เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยมีเป้าหมายส่งเสริมให้เกิดการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากกว่าจำนวนเงินค่าตอบแทนที่มหาวิทยาลัยจะได้รับ และประสงค์ให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงและขอใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยได้อย่างแพร่หลายมากกว่าการผูกขาดแต่เพียงรายเดียว เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการอนุญาตให้ใช้สิทธิแบบ Non-Exclusive มากกว่าแบบ Exclusive
คำถามที่พบบ่อย
1. การค้นพบเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือไม่ ?
ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 9 การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
เพราะฉะนั้น การค้นพบไม่นับเป็นสิ่งประดิษฐ์
2. นักวิจัยจะทราบได้อย่างไรว่าผลงานชิ้นนี้เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือไม่ และควรจะเปิดเผยเทคโนโลยีหรือไม่ ?
ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อนี้
- เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
- เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
- เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
หากท่านไม่แน่ใจว่าผลงานของท่านมีคุณสมบัติทั้ง 3 ประการตามนี้หรือไม่ ท่านสามารถติดต่อ TLO เพื่อหารือในช่องทางที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญต่อสาธารณะก่อนขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่
3. ในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำไมจึงต้องมีนักวิจัยร่วมด้วย ?
เพราะนักวิจัยเป็นผู้ทราบข้อมูลในเชิงเทคนิคและข้อมูลเชิงลึกของงานวิจัยนั้นๆ ดีที่สุด รวมถึงในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาจจะมีการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) หรือการพิสูจน์เทคโนโลยี (Proof of technology) ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากนักวิจัย และประการสำคัญที่สุดนักวิจัยคือผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยให้กับผู้รับเทคโนโลยี
4. หากทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ นักวิจัยจะได้รับอะไรบ้าง ?
ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง แนวปฏิบัติและการจัดสรรผลประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ผู้สร้างสรรค์งานหรือนักวิจัยได้รับ 80% ของรายได้สุทธิ
5. TLO คาดหวังอะไรจากนักวิจัย และนักวิจัยจะช่วยเหลืออะไร TLO ได้บ้าง ?
การให้ความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่าง TLO และนักวิจัย มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง นักวิจัยสามารถให้ความร่วมมือกับ TLO ดังนี้
- ติดต่อ TLO เมื่อนักวิจัยเชื่อว่ามีข้อสังเกตทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิคที่มีมูลค่าทางการค้าหรือการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
- ยกร่างและยื่นคำขอรับการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ TLO จากนั้น TLO จะยื่นคำขอของท่านไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อได้เลขคำขอรับการคุ้มครองสิทธิบัตรแล้ว ท่านจึงเผยแพร่เทคโนโลยี
เมื่อมีผู้สนใจเทคโนโลยี นักวิจัยกรุณาติดต่อ TLO เพื่อ TLO จะได้ดำเนินการตามกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลย มีการทำสัญญาต่าง ๆ ที่จะป้องกันการนำเทคโนโลยีไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต