ต่อยอดผลงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้บริการทุนเพื่อต่อยอดงานวิจัยที่มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ ทุนยกระดับความพร้อมของเทคโนโลยี และทุนพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด โดยมีทุนสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

นักวิจัยที่สนใจเป็นผู้ประกอบการสามารถร่วมกับบุคคลอื่นเพื่อก่อตั้งบริษัทใหม่โดยที่นักวิจัยทำหน้าที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งที่เชี่ยวชาญและเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีและสามารถถือหุ้นของบริษัทได้ถูกต้องตามกฎหมาย ข้อดีของแนวทางนี้คือนักวิจัยสามารถมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานวิจัยของตนออกสู่เชิงพาณิชย์ได้โดยการขออนุญาตใช้สิทธิในผลงานทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองแทนการภาคเอกชนรายอื่ ทำให้นักวิจัยมีโอกาสที่จะได้รับค่าตอบแทนทั้งในส่วนของรายได้ของบริษัทและค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิที่มหาวิทยาลัยแบ่งให้ในฐานะผู้ประดิษฐ์ด้วย อย่างไรก็ตาม อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีแนวทางในการประเมินความพร้อมของการเริ่มต้นบริษัทใหม่ดังนี้

  • เทคโนโลยีมีความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ หมายถึง เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถที่จะใช้เพื่อการผลิตเป็นสินค้าและบริการได้จริง, หรือมีอิสระในการนำไปประกอบเป็นธุรกิจได้โดยไม่ละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น, หรือเป็นเทคโนโลยีที่ลอกเลียนแบบได้ยาก
  • สินค้าและบริการมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนและมีขนาดตลาดที่ใหญ่พอต่อการลงทุน
  • นักวิจัยมีทีมงานที่มีความพร้อมซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารบริษัท (Chief executive officer CEO), ทีมงานด้านการผลิต, และทีมงานด้านการตลาด ทีมงานเหล่านี้อาจเป็นทีมนักวิจัย/นักศึกษาผู้ร่วมโครงการหรือภาคเอกชนรายอื่นๆ
  • ผู้บริหารมีแผนธุรกิจและแผนการตลาดที่ดีและเหมาะสมกับเทรนด์ปัจจุบัน

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบริการที่ช่วยสนับสนุนนักวิจัยให้สามารถจัดตั้งบริษัทใหม่ ดังนี้

    • เข้าร่วม กิจกรรมการส่งเสริมแนวคิดนวัตกรรม กับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเรียนรู้แนวคิดของผู้ประกอบการและเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรม
    • ผลิตต้นแบบผลิตภัณฑ์และทดสอบตลาดโดยใช้ เงินทุนสนับสนุนผู้ประกอบการเริ่มต้น
    • เข้าร่วม โปรแกรมบ่มเพาะผู้ประกอบการเริ่มต้น กับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อขอรับการสนับสนุนด้านที่ปรึกษาทางธุรกิจ เงินทุน พื้นที่สำนักงานและเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ ที่สามารถช่วยสนับสนุนให้บริษัทจัดตั้งใหม่สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมั่นคง

**หมายเหตุ : ด้วยข้อจำกัดของข้อกฎหมายปัจจุบัน, นักวิจัยที่เป็นพนักงานของรัฐไม่สามารถดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล

Contact ผลิตและจำหน่ายผลงานนวัตกรรม

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

คุณซูกิมพลี หนิจิบุลัด (ดี)
0 7567 3579
sukimplee.ni@wu.ac.th

Scroll to Top