ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้บริการรับจดทะเบียนคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภทแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอรับการคุ้มครอง, สืบค้นฐานข้อมูลสิทธิบัตร, ทำแผนที่สิทธิบัตร, และขอรับคำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาจากนักทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัย ได้แก่ คุณพรรษกร ฉันทวีโรจน์ มีรายละเอียดขั้นตอนการใช้บริการและค่าธรรมเนียมดังนี้

ตอบ การจะได้รับความคุ้มครองทางกฏหมายนั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่คิดค้นขึ้นมาว่าจะอยู่ในขอบข่ายของทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใด ในบริบทของประเทศไทยได้มีกฏหมายเกี่ยวกับการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาเอาไว้หลานฉบับ เช่น ถ้าเกี่ยวกับการประดิษฐ์อุปกรณ์ กรรมวิธีต่างๆ การออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องยื่นขอจดทะเบียนสิทธิบัตรถึงจะได้รับความคุ้มครอง ถ้าเกี่ยวกับงานเขียน งานวรรณกรรม บทประพันธ์ วิดีโอ ฯลฯ จัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้สร้างสรรค์งานเสร็จโดยไม่ต้องจดทะเบียน ส่วนเครื่องหมายที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ จะต้องจดทะเบียนจึงจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าหรือบริการนั้น เป็นต้น

ตอบ ลิขสิทธิ์  หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ซึ่งประเภทลิขสิทธิ์ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ มีดังนี้คือ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง แพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบทั้งโดยจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ นอกจากนั้นกฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครองถึงสิทธิของนักแสดงด้วย อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ไม่ครอบคลุมถึงความคิดหรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

ตอบ สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Industrial Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ (Invention Patent) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Design Patent) และอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) โดยที่กฏหมายระบุให้ผู้ทรงสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาด หรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

ตอบ เพื่อการคุ้มครองสิทธิอันชอบธรรมของผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบตามที่กฎหมายกำหนด โดยจะมีสิทธิเด็ดขาดหรือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรนั้น ภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด

ตอบ

  1. ได้พัฒนาต่อยอดความรู้ทางเทคโนโลยี เกิดนวัตกรรมของโลก
  2. ช่วยตอบโจทย์/แก้ไขปัญหาของเทคโนโลยีเดิมให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  3. สร้างรายได้จากการถ่ายทอดเทคโนโลยี
  4. ได้ตัวชี้วัดการประกันคุณภาพการศึกษา แสดงให้เห็นถึงความสามารถด้านวิชาการและศักยภาพการแข่งขันขององค์กร (นับเฉพาะสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว)
  5. ผู้ประดิษฐ์ได้รับการจัดสรรผลประโยชน์อันเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญา
  6. ผู้ประดิษฐ์ได้ใช้เป็นผลงานในการประเมินผลงานประจำปีและการขอตำแหน่งวิชาการ (นับเฉพาะสิทธิบัตรที่ได้รับจดทะเบียนแล้ว) หรือนักศึกษาใช้เป็นเงื่อนไขในการจบการศึกษาแทนการตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการได้

ตอบ : ความคุ้มครองในสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรตามกฎหมายไทย พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 นั้นจะต้องได้รับการจดทะเบียนที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์เท่านั้น

ตอบ :   กรณี สิทธิบัตรการประดิษฐ์ จะต้อง เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้

กรณี อนุสิทธิบัตร จะต้อง เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมได้

ตอบ :   ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ต้องไม่ใช่งานที่ปรากฏอยู่แล้ว หรือที่มีหรือใช้กันแพร่หลายอยู่แล้ว รวมทั้งงานที่มีการเผยแพร่รวมถึงมีการเปิดเผยสาระสำคัญของการประดิษฐ์ในเอกสารหรือสื่งพิมพ์ในที่ต่างๆ มาแล้ว เว้นแต่การเผยแพร่นั้นจะเป็นไปเพื่อสาธารณะประโยชน์ในงานที่จัดขึ้นโดยรัฐฯ

ตอบ :   ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น หมายความว่าไม่เป็นขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สามารถทำได้ง่าย โดยผู้พบเห็นทั่วไป หรืออาจพูดได้ว่า มีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของสิ่งประดิษฐ์ที่มีมาก่อน

ตอบ :   ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 การประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรมนั้นจะต้องสามารถทำซ้ำเป็นจำนวนมากเพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ได้

ตอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม สื่อมัลติมีเดีย เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานแพร่เสียงแพร่ภาพ ภาพวาดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานศิลปกรรม

ตอบ แบบอาคารจำลอง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทสถาปัตยกรรม ตัวแมสคอทเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทศิลปกรรม

ตอบ โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทวรรณกรรม แต่ถ้ามีการนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ ผู้เขียนจะต้องเขียนรายละเอียดการประดิษฐ์ที่เน้นตัวผลิตภัณฑ์เป็นหลักโดยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบ  กรณีนี้จึงจะยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรได้

ตอบ : สิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ มีดังนี้

  • จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
  • กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • ระเบียบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
  • วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์
  • การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

ตอบ :   

  1. ได้ เพราะผลการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นบางรายการ มีคุณสมบัติไม่ครบตามที่กฎหมายสิทธิบัตรกำหนด จึงจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรไม่ได้
  2. ได้ เพราะผลการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นบางรายการอาจจะเป็นประโยชน์กว่าถ้าไปขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาในประเภท “ความลับทางการค้า”
  3. ได้ เพราะผลการวิจัย การประดิษฐ์คิดค้นบางรายการที่แม้จะได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรหากไม่มีการนำไปใช้ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ ไม่สร้างมูลค่า

ตอบ : การจดสิทธิบัตรในไทยคุ้มครองได้เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากต้องการขอรับความประสงค์ขอรับความคุ้มครองในต่างประเทศ ขอให้ติดต่อ TLO เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานนั้น

ตอบ : ควรมีทำการสืบค้นสิทธิบัตรก่อนวางแผนการจดทะเบียน สามารถทำได้โดย…คลิ๊กลิ้งแนะนำการสืบค้น…( หรือปรึกษา TLO เพื่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติม

ตอบ : ทั้งสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร มีข้อแตกต่างกันดังนี้คือ สิทธิบัตรจะต้องมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น และมีอายุความคุ้มครองได้ถึง 20 ปี ขณะที่ อนุสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุความคุ้มครองได้ถึง 10 ปี และในส่วนของกระบวนการดำเนินการและพิจารณาตรวจสอบคำขอนั้น สิทธิบัตรการประดิษฐ์จะใช้เวลา 3-5 ปี ขณะที่ อนุสิทธิบัตรใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ดังนั้นผู้ที่ยื่นคำขอรับความคุ้มครองจึงสามารถเลือกรับความคุ้มครองได้ความประสงค์

ตอบ : ได้ถ้าการเผยแพร่สิ่งประดิษฐ์/แสดงโปสเตอร์ในงานประชุม/งานแสดงสินค้านานาชาติ/งาน Expo/นำเสนอผลงานในงานประชุม /ออกสื่อต่างๆ นั้นอยู่ในงานที่หน่วยงานของรัฐเป็นผู้จัดขึ้น โดยจะต้องดำเนินการยื่นคำขอให้แล้วเสร็จภายใน 12 เดือน นับตั้งแต่วันที่จัดแสดง

ตอบ : ควรดำเนินการเพื่อขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรให้ได้เลขที่คำขอ เรียบร้อยก่อนมีวันที่ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเพื่อไม่ให้ขาดคุณสมบัติที่จะขอรับความคุ้มครองได้ ดังนั้นหากผู้ประดิษฐ์ประสงค์จะตีพิมพ์ผลงานและต้องการจดทะเบียนสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรด้วย ควรจะต้องวางแผนการดำเนินการให้สอดคล้องกันโดยอาจปรึกษา TLO เพื่อช่วยในการเตรียมเอกสารคำขอในระหว่างที่กำลังเตรียมการเพื่อตีพิมพ์ผลงานไปพร้อมๆกัน

ตอบ : 1) กรณีที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานวิจัยขึ้นและสามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้ สิทธิในสิทธิบัตรจะเป็นของใคร แบ่งออกเป็นกรณีได้ดังนี้

  • กรณีเป็นผลงานจากการดำเนินการโดยมีสัญญารับทุนจากภายนอก จะต้องเป็นตามสัญญาโดยสิทธิอาจเป็นผู้ให้ทุน หรือผู้รับทุน หรือเป็นสิทธิร่วมกันซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งสัญญา
  • กรณีเป็นผลงานจากการปฏิบัติงานตามหน้าที่ โดยไม่มีสัญญาอื่นใดมาเกี่ยวข้องให้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบฯ

2) ผู้ประดิษฐ์จะมีชื่อในสิทธิบัตรในฐานะที่เป็นผู้ประดิษฐ์บนเอกสารสิทธิบัตร หากมีผู้ประดิษฐ์ร่วมกันหลายท่าน ชื่อแรกที่ปรากฏจะเป็นชื่อผู้ประดิษฐ์ที่มีส่วนร่วมในการประดิษฐ์มากที่สุดต่อท้ายด้วยคำว่า “และคณะ”

3) กรณีที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้สร้างผลงานวิจัยขึ้นและสามารถขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตรได้จะมีสิทธิได้รับผลประโยชย์เมื่อมีการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และมีการได้รับผลประโยชน์เกิดขึ้น ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบฯ

ตอบ

  1. การยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้ทรงสิทธิ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น รวมถึงการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ด้วย
  2. การยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นผู้ทรงสิทธิร่วมกับหน่วยงานภายนอกที่ไม่มีรายชื่ออยู่ในประกาศการยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนตามประเภทของทรัพย์สินทางปัญญานั้น
  3. การยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรสำหรับบุคคลภายนอกตอนนี้ยังไม่ค่าใช้จ่ายในส่วนของการให้บริการคำแนะนำ การสืบค้น การบริการช่วยจัดเตรียมคำขอ แต่จะมีค่าใช้จ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนตามประเภทของทรัพย์สินทางปัญญานั้น

ตอบ สิทธิประโยชน์ของบุคลากรที่ได้สร้างสรรค์ผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา มีดังนี้

  • เมื่อสร้างผลงานที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จะได้รับการจัดสรรเงินสมนาคุณผลงานที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ทั้งนี้ รายละเอียดเป็นไปตามประกาศฯ
  • เมื่อสร้างผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เชิงพานิชย์และได้รับค่าตอบแทนจากการถ่ายทอดเทคโนโลยี้จะได้รับการการจัดสรรผลประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ รายละเอียดเป็นไปตามประกาศฯ
  • เมื่อสร้างผลงานที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร จะสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาการกำหนดมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย ผู้ดำรงตำแน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ทั้งนี้ รายละเอียดเป็นไปตามประกาศฯ
    (อ้างอิง https://sciencepark.wu.ac.th/tlo/property-regulations)

ตอบ ให้อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา และบุคลากรทุกท่าน ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจขอใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย ติดต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (TLO) เพื่อช่วยดำเนินการได้แก่ ประสานการติดต่อและนัดหมายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อการเจรจาต่อรอง การจัดทำบันทึกข้อตกลง (MOU) การลงนามทำสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfers Agreement) การลงนามทำสัญญาอนุญาตให้สิทธิ (Technology Licensing Agreement) การทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิ (Assignment Agreement) สัญญาห้ามเปิดเผยข้อมูล (Non-disclosure Agreement) และสัญญาถ่ายโอนวัสดุชีวภาพ (Material Transfer Agreement) ฯลฯ การจัดเก็บรายได้และการจัดสรรผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น

ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 9 การประดิษฐ์ดังต่อไปนี้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ

(1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช

เพราะฉะนั้น การค้นพบไม่นับเป็นสิ่งประดิษฐ์

ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อนี้

  • เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่
  • เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
  • เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม

หากท่านไม่แน่ใจว่าผลงานของท่านมีคุณสมบัติทั้ง 3 ประการตามนี้หรือไม่ ท่านสามารถติดต่อ TLO เพื่อหารือในช่องทางที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญต่อสาธารณะก่อนขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียการเป็นสิ่งประดิษฐ์ใหม่

เพราะนักวิจัยเป็นผู้ทราบข้อมูลในเชิงเทคนิคและข้อมูลเชิงลึกของงานวิจัยนั้นๆ ดีที่สุด รวมถึงในกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาจจะมีการทำผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) หรือการพิสูจน์เทคโนโลยี (Proof of technology) ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากนักวิจัย และประการสำคัญที่สุดนักวิจัยคือผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยให้กับผู้รับเทคโนโลยี

ตามประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง ประกาศมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง แนวปฏิบัติและการจัดสรรผลประโยชน์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ผู้สร้างสรรค์งานหรือนักวิจัยได้รับ 80% ของรายได้สุทธิ

การให้ความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่าง TLO และนักวิจัย มีความสำคัญต่อความสำเร็จของกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง นักวิจัยสามารถให้ความร่วมมือกับ TLO ดังนี้

  • ติดต่อ TLO เมื่อนักวิจัยเชื่อว่ามีข้อสังเกตทางวิทยาศาสตร์หรือทางเทคนิคที่มีมูลค่าทางการค้าหรือการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
  • ยกร่างและยื่นคำขอรับการคุ้มครองสิทธิบัตรให้ TLO จากนั้น TLO จะยื่นคำขอของท่านไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อได้เลขคำขอรับการคุ้มครองสิทธิบัตรแล้ว ท่านจึงเผยแพร่เทคโนโลยี

เมื่อมีผู้สนใจเทคโนโลยี นักวิจัยกรุณาติดต่อ TLO เพื่อ TLO จะได้ดำเนินการตามกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลย มีการทำสัญญาต่าง ๆ ที่จะป้องกันการนำเทคโนโลยีไปใช้ก่อนได้รับอนุญาต

ค่าตอบแทนในการถ่ายทอดเทคโนโลยี มาจากการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา แนวทางในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในการถ่ายทอดเทคโนโลยีสรุปได้ 3 แนวทาง ดังนี้

1. การประเมินมูลค้าจากต้นทุน (Cost approach)
การประเมินมูลค้าจากต้นทุนของทรัพย์สินทางปัญญา เป็นการนำเอาต้นทุนจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นมูลค้าของสิ่งประดิษฐ์ สินค้า บริการหรือแบรนด์ของสินค้า ตั้งแต่ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงต้นทุนจากค้าแรง ค่าบุคลากร ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้นทุนการจัดทำต้นแบบสินค้า บริการ ต้นทุนการทดสอบและทดลอง ตลอดจนต้นทุนการดำเนินการทางกฎหมาย เช่น การออกใบอนุญาต เป็นต้น ทั้งนี้การประเมินมูลค้าจากต้นทุนมีความเหมาะสมกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีในช่วงแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งแนวทางในการประเมินมูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการวิเคราะห์จากต้นทุนดังกล่าว เป็นวิธีการที่ง่ายกว่าแนวทางการประเมินอื่น ๆ หากแต่ มูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จะไม่สะท้อนมูลค่า ที่จะทำให้เกิดประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างแท้จริง

2. การประเมินมูลค้าจากการเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach)
การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาตลาด คือ การประเมินมูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาของ ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่มีการซื้อขายหรือให้เช่าในตลาด วิธีการดังกล่าวค่อนข้าง ยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ค่อนข้างเป็นความลับ ไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้ยากต่อ การเปรียบเทียบคุณลักษณะเพื่อประเมินมูลค้า และข้อจำกัดอีกประการ คือ หากผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าว เป็นลักษณะที่มีความเฉพาะตัว (niche market) การหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบมีความเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น วิธีการ ประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการเปรียบเทียบราคาตลาดจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก

3. การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาจากรายได้ (Income approach)
การประเมินมูลค้าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีนี้ เป็นการประเมินจากกระแสรายได้ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการถือครองทรัพ์สินทางปัญญา ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในวงการธุรกิจ เพราะสะท้อนผลตอบแทนที่จะเกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าวิธีการประเมินจากต้นทุน รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช้ในการประเมินมูลค้าเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนธุรกิจอยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการประเมิน ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินดังกล่าว อาจประกอบด้วย จำนวนรวมของกระแสรายได้ในอนาคต อัตราการเติบโตหรืออัตราการเสื่อมของกระแสรายได้ในอนาคต รวมทั้งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญของการประเมินมูลค้าจากรายได้ คือความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้มูลค้าที่ได้มีความแกว้งตัวสูงกว่าการประเมินจากต้นทุน ดังนั้นการประเมินมูลค่าจากรายได้จึงจำเป็น ต้องคิดจากมูลค้าทางรายได้ที่เป็นปัจจุบัน (Net present value)

รูปแบบการอนุญาตที่แตกต่างกัน ส่งผลถึงเงื่อนไขและค่าผลตอบแทนที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง การอนุญาตให้ใช้สิทธิมีทั้งสิ้น 3 รูปแบบ ดังนี้

  1. การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing) ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ไม่มีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวในอาณาเขตที่กำหนด
  2. การอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดจำนวนผู้รับอนุญาต (Non-Exclusive Licensing) ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าว แต่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิให้ผู้อื่น หรือตนเองใช้สิทธิดังกล่าวในอาณาเขตได้อีกด้วย
  3. การอนุญาตให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ (Sole Licensing) ผู้ได้รับอนุญาตจะมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่ผู้อนุญาตหรือเจ้าของสิทธิก็ยังมีสิทธิใช้สิทธิดังกล่าวได้ในอาณาเขต แต่ไม่สามรถให้สิทธิแก่บุคคลอื่นอีกได้

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คุณพรรษกร ฉันทวีโรจน์ (เล็ก)
0 7567 3575 , 2927
npatsako@mail.wu.ac.th

Scroll to Top